top of page
  • Thiti Kunajipimol

มาเข้าใจ Product ของ SAP หลากหลายเวอร์ชันกันใน 5 นาที!

Updated: Jan 18, 2023

ในตลาด #ERP คงไม่มีใครไม่เคยได้ยินชื่อ #SAP กันใช่มั้ยละครับ แน่นอนว่าอาจจะมีใครหลายๆ คนที่งงกันอยู่ว่า SAP คืออะไร และตกลงเวอร์ชันอะไรเป็นอะไร วันนี้เราจะพาทุกคนมาเข้าใจในภาพกว้างๆ กันครับ

(ต้องบอกก่อนนะครับว่าเราไม่ได้เป็นตัวแทนขาย SAP หากต้องการข้อมูลเชิงลึกต้องสอบถามตัวแทน Implementor แต่ละเจ้าเองนะครับ)



SAP ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1972 โดยพนักงานเก่าจาก IBM ในประเทศเยอรมัน

เวอร์ชันแรกของ SAP ซึ่งเรียกว่า R/1 ถูกปล่อยออกมาในปี 1973 ซึ่งต้องรันบนเซอร์เวอร์ของ IBM และ DOS


ต่อมาในปี 1979 ก็มี SAP R/2 ซึ่งมีโครงสร้างแบบ two-tier architecture คือการแสดงผลอยู่บนแพลตฟอร์มหนึ่ง และข้อมูลและแอปพลิเคชันอยู่ในอีกแพลตฟอร์มหนึ่ง ซึ่งเวอร์ชัน R/2 นี้ช่วยทำให้ SAP เติบโตมากและขยายฐานลูกค้าออกไปได้ถึง 200 บริษัท


และในปี 1992 SAP ก็ปล่อยเวอร์ชัน R/3 ซึ่งเปลี่ยนเป็นโมเดล client-server และโครงสร้างแบบ three-tier architecture ซึ่งต้องบอกเลยว่า R/3 นี้เองที่ทำให้ SAP เป็นที่รู้จักในเวทีโลก และถือเป็นตัวที่ได้รับความนิยมสูงมาก และจะเป็นเบสของการพัฒนาต่อยอด Product ตัวอื่นๆ ต่อไปในอนาคต


ในปี 2004 SAP เปิดตัว NetWeaver ซึ่งพูดง่ายๆ ว่าเป็นแพลตฟอร์ม Web-based ที่ทำให้สามารถพัฒนาโปรแกรมต่างๆ ของ SAP และนอกเหนือจาก SAP ได้ และในปีเดียวกันก็ออก SAP ERP หรือเรียกว่า SAP ECC เป็นเวอร์ชันที่ถูกพัฒนาต่อมาจาก R/3


SAP ECC ย่อมาจาก “ERP Central Component” ซึ่งเป็น ERP แบบ on-premise เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในบริษัทขนาดกลาง/ใหญ่ ซึ่งเวอร์ชัน ECC ก็ถือว่าเป็น Product Flagship ของ SAP ก็ว่าได้ และเป็นเบสในการพัฒนา SAP S/4HANA ต่อไปด้วย


SAP ECC ประกอบได้ด้วยโมดูลหลักๆ ได้แก่

  • Human Capital Management (SAP HCM)

  • Production Planning (SAP PP)

  • Materials Management (SAP MM)

  • Project System (SAP PS)

  • Sales and Distribution (SAP SD)

  • Plant Maintenance (SAP PM)

  • Finance and controlling (SAP FICO)

  • Quality Management (SAP QM)


ต่อมาในปี 2006 มีการเปิดตัว “SAP Business All-in-One” พัฒนามาจาก R/3 เช่นเดียวกัน เน้นไปยังธุรกิจขนาดกลาง แต่เวอร์ชันนี้เป็นคนละเวอร์กันกับ “SAP Business One” หรือ “SAP B1” ที่หลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินกันในตลาดไทยนะครับ


SAP B1 นั้น จริงๆแล้ว เป็น Product ของบริษัทอิสราเอลที่ SAP ไปซื้อมาในปี 2022 มีชื่อเดิมคือ “TopManage” เน้นไปยังกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและกลางมากกว่า สามารถใช้ได้ทั้งแบบ on-premise หรือบน Cloud ขายผ่านพาร์ทเนอร์ตัวแทนต่างๆ ทั่วโลก


อีกปึหนึ่งต่อมาก็มี “SAP Business ByDesign” อีกตัวที่หลายคนน่าจะเคยได้ยินชื่อ ตัวนี้เน้นตลาดธุรกิจขนาดเล็กถึงกลาง ในปัจจุบันจะเป็นการขายแบบ SaaS คือการเช่าใช้งาน แบ่งการทำงานของโมดูลตาม “Scenario” การใช้งาน เช่น CRM, Finance, HRM, SCM เป็นต้น


ในปี 2009 มีการปล่อย “SAP Business Suite 7” ซึ่งก็พัฒนามาจากเวอร์ชัน R/3 มีทั้งโมดูลของ SRM, CRM, SCM, PLM และโมดูลหลักของ ERP ในตัวเดียว


อีก 2 ปีต่อมา ก็มีการเปิดตัว SAP HANA ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลแบบใหม่ มี Memory ในตัว เพื่อทดแทนฐานข้อมูลแบบเก่าของ SAP ทั้งหมด


และในปี 2015 SAP ก็ปล่อย “S/4HANA” ซึ่งเป็นการเอาเวอร์ชัน Business Suite มาเขียนใหม่ จริงๆ แล้วน่าจะเป็นเวอร์ชันที่ทุกคนได้ยินกันบ่อยที่สุด เป็นตัวที่พัฒนามาจาก R/3 อีกเช่นกัน


ส่วน SAP S/4HANA Cloud เป็นเวอร์ชัน SaaS ของ S/4HANA อีกที เป็นการเปลี่ยนวิธีการซื้อให้เป็นแบบเช่าใช้


นอกจาก Product ที่เป็น ERP หลักๆ แล้วจริงๆ SAP ก็ได้ทำการซื้อบริษัทและ Product ต่างๆ เข้ามาเป็นของ SAP เองมาเรื่อยๆ โดยตัวอย่างของ Product ที่ตลาดไทยค่อนข้างรู้จักกัน ได้แก่

  • SuccessFactors ระบบ SaaS เพื่อการบริหารระบบ HR ที่มีการซื้อในปี 2011

  • Ariba ระบบ B2B marketplace บน Cloud ที่มีการซื้อในปี 2012 เป็นต้น


ในอนาคต SAP มีแผนจะค่อยๆ ย้ายลูกค้าให้ไปใช้แพลตฟอร์มบน Cloud มากขึ้นและ S/4HANA ก็ถือว่ายังเป็น Product สำคัญ นอกจากนี้ SAP จะเน้นทำให้องค์กรนั้น “ฉลาด” ขึ้นผ่านเทคโนโลยีอย่าง AI, IoT, Big data และเครื่องมือวิเคราะห์อื่นๆ


ถ้าให้พูดในเชิงสรุป ตอนนี้ Product ที่มีการขายกันอย่างแพร่หลายในไทย ก็จะเป็น SAP B1 และ S/4HANA โดย SAP B1 ก็จะมีขนาดที่เล็กกว่าเหมาะกับบริษัทกลางถึงใหญ่ S/4HANA จะเหมาะกับองค์กรแบบ Enterprise และจะเก่งเรื่องผลิตกว่าครับ


ถึงตรงนี้ ทุกคนคงจะเริ่มมีไอเดียกันมากขึ้นว่าชื่อ Product ต่างๆ ของ SAP มีที่มายังไง อะไรมาก่อนมาหลัง ที่แน่ๆ คือ SAP เป็นบริษัทที่มีอายุยาวนาน และ Product ก็ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากจริงๆ ใครสนใจก็ลองติดต่อพาร์ทเนอร์ของ SAP ในไทยที่มีอยู่มากมายได้เลย


หรือหากใครกำลังมองหา ERP อยู่และอยากได้คำแนะนำก็ติดต่อมาพูดคุยกับเราได้ผ่าน Facebook หรืออีเมลมาหาเราที่ hello@asapproject.co ได้เลยครับ


Credit:


bottom of page