มารู้จัก ERP ของ Microsoft อย่าง Microsoft Dynamics กันแบบรวบรัด!

ถ้าเราพูดถึง Microsoft หลายๆ คนก็คงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี รวมถึงน่าจะเคยใช้ผลิตภัณฑ์ของ Microsoft กันอยู่แล้วใช่มั้ยละครับ จริงๆ แล้วนอกจากเครื่องมือพื้นฐานอย่าง Microsoft Office แล้ว Microsoft ก็ยังมี ERP เป็นของตนเองด้วย โดยมีประวัติมาอย่างยาวนานมากๆ และผ่านการ ควบรวม และเปลี่ยนชื่อมาหลากหลายครั้ง และวันนี้ Toolscape จะพาทุกคนมาเข้าใจ ERP ของค่าย Microsoft กันครับ!

TYPE

Solution Guide

TOOL

ERP (Enterprise Resources Planning)

ที่มาของ ERP ใต้ค่าย Microsoft

ปัจจุบัน ERP ของ Microsoft ที่เป็นที่รู้จักกันในตลาดไทยก็คงจะหนีไม่พ้นเจ้า Dynamics365 ซึ่งก็มีหลากหลายเวอร์ชันหรือ Edition ข้างในครับ แต่กว่าจะมาเป็น Dynamics365 อย่างทุกวันนี้ ต้องผ่านอะไรกันมาบ้าง

เราขออธิบายโดยแยกประวัติออกมาเป็น 3 Track ด้วยกันครับ

Track ที่ 1

  • ในปี 1991 ที่อเมริกา บริษัท “TLB” หรือที่เปลี่ยนชื่อเป็น “Solomon Software” ได้พัฒนาและเปิดตลาดซอฟต์แวร์บัญชีด้วยซอฟต์แวร์ที่ชื่อ “Solomon IV” ซึ่งทำตลาดได้ดีมาก จนในปี 2000 ก็ถูกซื้อไปโดยบริษัท “Great Plains Software”

  • แต่จริงๆ แล้ว บริษัท “Great Plains Software” ก็มีซอฟต์แวร์บัญชีของตนเองเหมือนกันชื่อ Dynamics GP หรือ Dynamics ที่เริ่มทำตลาดในช่วงปี 1993

  • หลังจากนั้น ในปี 2001 Microsoft ก็ได้มาซื้อ บริษัท “Great Plains Software” ไปอีกที ทำให้ตอนนี้ Microsoft เป็นเจ้าของซอฟต์แวร์สองตัวทั้ง Solomon และ Dynamics

Track ที่ 1

  • ในปี 1991 ที่อเมริกา บริษัท “TLB” หรือที่เปลี่ยนชื่อเป็น “Solomon Software” ได้พัฒนาและเปิดตลาดซอฟต์แวร์บัญชีด้วยซอฟต์แวร์ที่ชื่อ “Solomon IV” ซึ่งทำตลาดได้ดีมาก จนในปี 2000 ก็ถูกซื้อไปโดยบริษัท “Great Plains Software”

  • แต่จริงๆ แล้ว บริษัท “Great Plains Software” ก็มีซอฟต์แวร์บัญชีของตนเองเหมือนกันชื่อ Dynamics GP หรือ Dynamics ที่เริ่มทำตลาดในช่วงปี 1993

  • หลังจากนั้น ในปี 2001 Microsoft ก็ได้มาซื้อ บริษัท “Great Plains Software” ไปอีกที ทำให้ตอนนี้ Microsoft เป็นเจ้าของซอฟต์แวร์สองตัวทั้ง Solomon และ Dynamics

Track ที่ 2

ในปี 2001 เดียวกันนั้น Microsoft ก็ได้เข้าซื้อบริษัท iCommunicate ซึ่งเป็นเจ้าของซอฟต์แวร์ CRM ชื่อ iCommunicate.NET ทำให้ตอนนี้ Microsoft มี Product ที่เป็น CRM อยู่ในมือแล้วนะครับ

Track ที่ 2

ในปี 2001 เดียวกันนั้น Microsoft ก็ได้เข้าซื้อบริษัท iCommunicate ซึ่งเป็นเจ้าของซอฟต์แวร์ CRM ชื่อ iCommunicate.NET ทำให้ตอนนี้ Microsoft มี Product ที่เป็น CRM อยู่ในมือแล้วนะครับ

Track ที่ 3

  • กลับมาที่ปี 1984 บริษัท “PC Plus” ได้มีการปล่อยซอฟต์แวร์บัญชีอที่ชื่อ “PC&C” โดยมีการเปลี่ยนชื่อเป็น “Navigator” หลังจากได้มีการร่วมทุนกับทาง IBM Denmark และเปลี่ยนเป็น “Navision” ในปี 1990 ซึ่งก็เริ่มเป้นที่รู้จักไปทั่วโลก

  • จนในปี 1995 “Navision”ก็กลายเป็น “Navision Financials” ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นเวอร์ชัน Windows-based ตัวแรกๆ ของตลาด

  • ในปี 2000 ก็มีการควบรวมกิจการกับบริษัท “Damgaard Data” เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท “NavisionDamgaard” และกลายเป็น “Navision A/S” ในภายหลัง ซึ่งบริษัท “Damgaard Data” นั้นจริงๆ ก็มีซอฟต์แวร์ของตนเองชื่อ “Axapta” อยู่แล้วเช่นกัน

Track ที่ 3

  • กลับมาที่ปี 1984 บริษัท “PC Plus” ได้มีการปล่อยซอฟต์แวร์บัญชีอที่ชื่อ “PC&C” โดยมีการเปลี่ยนชื่อเป็น “Navigator” หลังจากได้มีการร่วมทุนกับทาง IBM Denmark และเปลี่ยนเป็น “Navision” ในปี 1990 ซึ่งก็เริ่มเป้นที่รู้จักไปทั่วโลก

  • จนในปี 1995 “Navision”ก็กลายเป็น “Navision Financials” ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นเวอร์ชัน Windows-based ตัวแรกๆ ของตลาด

  • ในปี 2000 ก็มีการควบรวมกิจการกับบริษัท “Damgaard Data” เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท “NavisionDamgaard” และกลายเป็น “Navision A/S” ในภายหลัง ซึ่งบริษัท “Damgaard Data” นั้นจริงๆ ก็มีซอฟต์แวร์ของตนเองชื่อ “Axapta” อยู่แล้วเช่นกัน

เรื่องราวทั้งหมดมาบรรจบกันในปี 2002 และการรีแบรนด์ครั้งใหญ่

เมื่อ Microsoft ได้ทำการเข้าซื้อบริษัท Navision A/S หลังจากซื้อบริษัท Great Plains ที่เราพูดถึงใน Track ที่ 1 ไป ทำให้ Microsoft ได้ ซอฟต์แวร์บัญชีอีกสองตัวอย่าง Navision และ Axapta มาอยู่ในมือ

ณ จุดนี้ของเวลา Microsoft ก็เป็นเจ้าของซอฟต์แวร์เจ๋งๆ ทั้งหลาย ได้แก่ Solomon, Dynamics, iCommunicate.NET, Navision, และ Axapta ซึ่งทำให้ Microsoft คิดว่าพร้อมแล้วในการสร้าง Business Unit ใหม่ขึ้นมาชื่อ “Microsoft Business Solutions” และทำการเปลี่ยนชื่อซอฟต์แวร์เหล่านี้ใหม่เพื่อทำตลาดโดยในช่วงระหว่างปี 2002-2004 Microsoft ยังใช้วิธีการเก็บชื่อ แบรนด์ดั้งเดิมเอาไว้คู่กับ Brand Microsoft อย่างเช่น

  • ในปี 2002

    • ออก “Microsoft Business Solutions Axapta” จากซอฟต์แวร์ Axapta เดิม

  • ในปี 2003

    • ออก “Microsoft Business Solutions Navision” จาก Navision เดิม

    • ออก “Microsoft Business Solutions CRM” จาก iCommunicate

  • ในปี 2004

    • ออก “Microsoft Business Solutions Great Plains” จากตัว Dynamics ของบริษัท Great Plains

แต่หลังจากนั้น ในช่วงปี 2005-2006 Microsoft ก็ทำการรีแบรนด์และเปลี่ยนชื่อซอฟต์แวร์เหล่านี้อีกครั้งโดยใช้คำนำหน้าชื่อเป็นแบรนเด์ “Microsoft Dynamics” ได้แก่

  • “Microsoft Dynamics NAV” บนพื้นฐานจากตัว Navision เดิม

  • “Microsoft Dynamics AX” บนพื้นฐานจากตัว Axapta เดิม

  • “Microsoft Dynamics GP” บนพื้นฐานจากตัว Great Plains เดิม

  • “Microsoft Dynamics SL” บนพื้นฐานจากตัว Solomon เดิม

  • และ“Microsoft Dynamics CRM” บนพื้นฐานจากตัว Microsoft Business Solutions CRM ก่อนหน้านี้

ซึ่งแต่ละตัวก็มีการทำตลาดแยกกัน และปล่อยอัพเดทเวอร์ชันของแต่ละ Product ออกมาเรื่อยๆ

ในปี 2007 มีการออก “Microsoft Dynamics CRM” ในเวอร์ชัน Web-based ออกมาเป็นครั้งแรก ตามมาด้วย GP และ NAV ในปี 2012-2013 ที่มีเวอร์ชัน Web client เช่นกัน

เรื่องราวทั้งหมดมาบรรจบกันในปี 2002 และการรีแบรนด์ครั้งใหญ่

เมื่อ Microsoft ได้ทำการเข้าซื้อบริษัท Navision A/S หลังจากซื้อบริษัท Great Plains ที่เราพูดถึงใน Track ที่ 1 ไป ทำให้ Microsoft ได้ ซอฟต์แวร์บัญชีอีกสองตัวอย่าง Navision และ Axapta มาอยู่ในมือ

ณ จุดนี้ของเวลา Microsoft ก็เป็นเจ้าของซอฟต์แวร์เจ๋งๆ ทั้งหลาย ได้แก่ Solomon, Dynamics, iCommunicate.NET, Navision, และ Axapta ซึ่งทำให้ Microsoft คิดว่าพร้อมแล้วในการสร้าง Business Unit ใหม่ขึ้นมาชื่อ “Microsoft Business Solutions” และทำการเปลี่ยนชื่อซอฟต์แวร์เหล่านี้ใหม่เพื่อทำตลาดโดยในช่วงระหว่างปี 2002-2004 Microsoft ยังใช้วิธีการเก็บชื่อ แบรนด์ดั้งเดิมเอาไว้คู่กับ Brand Microsoft อย่างเช่น

  • ในปี 2002

    • ออก “Microsoft Business Solutions Axapta” จากซอฟต์แวร์ Axapta เดิม

  • ในปี 2003

    • ออก “Microsoft Business Solutions Navision” จาก Navision เดิม

    • ออก “Microsoft Business Solutions CRM” จาก iCommunicate

  • ในปี 2004

    • ออก “Microsoft Business Solutions Great Plains” จากตัว Dynamics ของบริษัท Great Plains

แต่หลังจากนั้น ในช่วงปี 2005-2006 Microsoft ก็ทำการรีแบรนด์และเปลี่ยนชื่อซอฟต์แวร์เหล่านี้อีกครั้งโดยใช้คำนำหน้าชื่อเป็นแบรนเด์ “Microsoft Dynamics” ได้แก่

  • “Microsoft Dynamics NAV” บนพื้นฐานจากตัว Navision เดิม

  • “Microsoft Dynamics AX” บนพื้นฐานจากตัว Axapta เดิม

  • “Microsoft Dynamics GP” บนพื้นฐานจากตัว Great Plains เดิม

  • “Microsoft Dynamics SL” บนพื้นฐานจากตัว Solomon เดิม

  • และ“Microsoft Dynamics CRM” บนพื้นฐานจากตัว Microsoft Business Solutions CRM ก่อนหน้านี้

ซึ่งแต่ละตัวก็มีการทำตลาดแยกกัน และปล่อยอัพเดทเวอร์ชันของแต่ละ Product ออกมาเรื่อยๆ

ในปี 2007 มีการออก “Microsoft Dynamics CRM” ในเวอร์ชัน Web-based ออกมาเป็นครั้งแรก ตามมาด้วย GP และ NAV ในปี 2012-2013 ที่มีเวอร์ชัน Web client เช่นกัน

กลายมาเป็น Dynamics365

ในปี 2016 ก็เริ่มมีการพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือของซอฟต์แวร์ข้างต้นทั้งหลายเพิ่มเติม และที่สำคัญคือมีการเปิดตัว “Dynamics365” ERP ตัวใหม่ของ Microsoft

  • ซึ่งเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ใหม่ ให้กลายมาเป็น Suite ของแอปพลิเคชันหลายๆ ตัวรวมกันแทน ทั้งหมดมี 12 แอปพลิเคชัน เป็นการรวมตัวของซอฟต์แวร์ที่เคยแยกกันขาย เอามารวมเป็นแอปพลิเคชันที่ให้ผู้ใช้งานเลือกซื้อใช้ได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น

  • อีกทั้งยังมีการเชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของ Microsoft อย่าง Office365, Power Apps, Microsoft Flow, Outlook, และ Power BI ทำให้การใช้งานนั้น Seamless มากกว่าเคย

ตัว ERP เวอร์ชันก่อนอย่าง AX, NAV, GP, SL ก็หยุดการอัพเดทไปในปี 2018 เพื่อผลักดัน ERP ใหม่อย่าง “Dynamics365” อย่างเต็มตัว และจาก 12 แอปพลิเคชันนั้น

  • AX ก็กลายมาเป็น “Dynamics365 for Finances and Operations หรือ F&O”

  • CRM ก็กลายมาเป็น “Dynamics365 Sales”

  • และ NAV ก็กลายมาเป็น “Dynamics365 Business Central หรือ BC” ในปี 2018 นั่นเอง


กลายมาเป็น Dynamics365

ในปี 2016 ก็เริ่มมีการพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือของซอฟต์แวร์ข้างต้นทั้งหลายเพิ่มเติม และที่สำคัญคือมีการเปิดตัว “Dynamics365” ERP ตัวใหม่ของ Microsoft

  • ซึ่งเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ใหม่ ให้กลายมาเป็น Suite ของแอปพลิเคชันหลายๆ ตัวรวมกันแทน ทั้งหมดมี 12 แอปพลิเคชัน เป็นการรวมตัวของซอฟต์แวร์ที่เคยแยกกันขาย เอามารวมเป็นแอปพลิเคชันที่ให้ผู้ใช้งานเลือกซื้อใช้ได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น

  • อีกทั้งยังมีการเชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของ Microsoft อย่าง Office365, Power Apps, Microsoft Flow, Outlook, และ Power BI ทำให้การใช้งานนั้น Seamless มากกว่าเคย

ตัว ERP เวอร์ชันก่อนอย่าง AX, NAV, GP, SL ก็หยุดการอัพเดทไปในปี 2018 เพื่อผลักดัน ERP ใหม่อย่าง “Dynamics365” อย่างเต็มตัว และจาก 12 แอปพลิเคชันนั้น

  • AX ก็กลายมาเป็น “Dynamics365 for Finances and Operations หรือ F&O”

  • CRM ก็กลายมาเป็น “Dynamics365 Sales”

  • และ NAV ก็กลายมาเป็น “Dynamics365 Business Central หรือ BC” ในปี 2018 นั่นเอง


สรุป Dynamics365 ในไทย

ในไทยเราเอง 2 ตัวที่ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันดีมากๆ ก็คือ AX และ NAV ซึ่งตอนนี้ควรจะถูกเรียกว่า “Dynamics365 for Finances and Operations (F&O)” และ “Business Central” ตามลำดับ


  • Business Central นั้นจะเน้นไปทางธุรกิจขนาดกลางมากกว่า และเน้นขายแบบ SaaS หรือแบบเช่าใช้ ราคา $70-$100 ต่อ User ต่อเดือน หรือประมาณ 2,300 ถึง 3,300 บาทต่อคนต่อเดือนครับ

  • ส่วน F&O นั้นจะเน้นไปที่องค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีความสามารถ และ ราคาในภาพรวม ที่สูงกว่า BC พอสมควรครับ

หากใครอยากทราบรายละเอียดของ Dynamics365 เพิ่มเติมสามารถติดต่อ Implementer ของค่าย Microsoft ได้เลยครับ!

ASAP Project เป็นที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ที่จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจด้วยเทคโนโลยี

#AX #Axapta #Dynamics365 #Navision #NAV #Microsoft #ERP #BusinessCentral

Feeling overwhelmed?
Let us help you find the right tools.

Feeling overwhelmed?
Let us help you find the right tools.

Feeling overwhelmed?
Let us help you find the right tools.