top of page
  • Thiti Kunajipimol

รีวิว 8 ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ Miro

ใครที่กำลังมองหาเครื่องมือเพื่อทำ Workshop หรือประชุมร่วมกันแบบออนไลน์ น่าจะต้องเคยผ่านตากับแอปที่ชื่อ “Miro” กันมาบ้างแล้วอย่างแน่นอน!



1. เท็มเพลตพร้อมใช้

เป็นอีก Whiteboarding Tool ที่มีเท็มเพลตมาให้เลือกใช้มากมาย โดย Miro เน้นเท็มเพลตสำหรับการทำ Workshop, Brainstorming, การวางแผน และ Design ไม่ว่าจะเป็น



  • การวาง OKR

  • การทำ Project kick-off

  • การทำ Touchpoint หรือ Journey map

  • การวางแผน Sprint

  • หรือทำ Retrospective หลังจบ Sprint

  • หรือแม้แต่การดีไซน์ wireframe ของแอปต่างๆ


2. Kanban

ที่ Miro ทำได้สะดวกมากๆ คือการวางแผนด้วย Kanban ที่เป็น App ที่เราเลือกใช้ได้เลยโดยเราสามารถ

เปลี่ยนชื่อและสีของคอลัมน์ตามจุดประสงค์ที่ต้องการใช้

  • เพิ่มการ์ดข้างใน ซึ่งอาจจะเป็นชื่อของ Task หรือไอเดีย

  • เพิ่มชื่อของผู้รับชอบ

  • เพิ่ม Tag

  • ระบุ Status

  • แปะลิงค์

  • หรือใส่วันที่จากถึงของงานนั้นๆ ได้อีกด้วย

เมื่ออยากเปลี่ยนสถานะหรือเปลี่ยนคอลัมน์ก็แค่ลากการ์ดนั้นไปมาได้เลย ใช้งานง่ายไม่ต่างกับ Trello เลย


3. Post-it

Miro เป็นแอปที่ช่วยให้เราใช้ Post-it แบบ Advance กว่าใคร ถือว่าสร้างมาเพื่อการทำ Brainstorming อย่างแท้จริง เช่น

  • การสร้าง Post-it ใหม่ด้วยการกด Tab

  • การแปะ Tag แสดงชื่อคนสร้าง หรือใส่ Emoji

การจัดกลุ่ม Post-it ก็ทำได้ง่ายมากๆ แค่คลุม Post-it และเลือก Cluster จากสี Tag ผู้สร้าง หรือแม้แต่ Keyword หรือ Emoji!


4. ทำงานกับ Excel/Google Sheet และ PowerPoint/PDF


ทำงานแบบไม่สะดุดกับแอปอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Spreadsheet หรือไฟล์ Presentation โดยสามารถอัพโหลดหรือ Import เอาไฟล์ต่างๆ เข้ามาแปะไว้ใน Miro board เพื่อเปิดดูหรือแก้ไขกันได้ทันทีจากใน Board Miro!

  • สำหรับ Spreadsheet สามารถอัพโหลดจากเครื่องของเรา จาก URL หรือจาก Google Drive ของเราก็ได้ และหากเรามีสิทธิแก้ไข เมื่อกดไฟล์ ก็สามารถแก้ไขได้ทันที

  • สำหรับไฟล์ PowerPoint หรือ PDF ก็อัพโหลดมาแปะได้เลย แถมยังสามารถ Extract บางหน้าออกมาวางได้อีกด้วย


5. Presentation แบบง่ายๆ

Miro ช่วยให้เรา Present งานแบบไม่ต้องง้อการทำ PowerPoint อีกต่อไป

แค่สร้าง Frame ขึ้นมาและใส่ข้อมูลที่อยากทำเสนอ และกด Present ได้เลย

  • เลือกจะ Present ทั้ง Board หรือ

  • จะ Present ทีละเฟรมก็ได้

ทีนี้ก็ช่วยกันทำสไลด์แบบไม่ต้องโยนไฟล์กันไปมาแล้วค่ะ


6. สติ๊กเกอร์

ขาดไม่ได้เลยกับสติ๊กเกอร์สุดน่ารัก หรือจะเป็น Emoji และ GIF

ที่เราสามารถเลือกแปะไปตามเฟรมต่างๆ ที่สร้างไว้ แค่นี้การทำงานก็ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป


7. ทำงานร่วมกันได้ง่ายกว่า

Miro ช่วยให้เราคุยและคอมเม้นงานกันได้ง่ายกว่าเดิม

  • โดยเราสามารถแปะคอมเม้นท์ไว้ได้ทุกที่

  • พร้อมทั้ง @mention เพื่อนในบอร์ด และใส่ Emoji

  • นอกจากนั้นยังสามารถ Follow กันได้ ว่าเพื่อนอยู่ตรงไหนบนบอร์ด แค่กดไอคอนชื่อของเพื่อน


8. เชื่อมต่อกับ Project Management App

ไม่ต้องห่วงว่าจะต้องทำงานซ้ำซ้อนทุกอย่าง ในกรณีที่มีการวางแผนงานไว้ใน Project Management App อยู่แล้ว เพราะ Miro ก็มีการเชื่อมต่อกับแอปยอดนิยมอย่าง ClickUp, Asana, Monday.com, และ Jira เอาไว้อยู่แล้ว เช่น

  • Convert Post-it ใน Miro เป็น Task ใน Jira หรืออัพเดทการ์ด Task ของ Jira จากใน Miro

  • สร้าง Task ใน ClickUp จากใน Miro หรือเลือก Task จากใน ClickUp มาไว้บน Miro

  • แปะบอร์ด Miro บน Monday.com หรือเพิ่ม Task จาก Monday มาไว้บน Miro เป็นต้น


Pricing

มาถึงตรงนี้กันแล้ว ทุกคนคงอยากจะทราบราคาของ Miro กันแล้วใช่มั้ยละคะ



  • Miro เริ่มต้นใช้งานได้ฟรี โดยใช้งานได้ 3 บอร์ดและไม่จำกัดจำนวนคนในทีม

  • หรือจะขยับมาเป็นแพลน Starter ที่ $8 ต่อผู้ใช้งานต่อเดือน โดยไม่จำกัดจำนวนบอร์ด และสามารถใช้งานแอปต่างๆ ของ Miro ได้มากขึ้น

  • ต่อมาเป็นแพลน Business ที่ $16 ต่อผู้ใช้งานต่อเดือน ที่สามารถเชิญ Guest มาทำงานร่วมกันบนบอร์ดได้ มีเครื่องมือช่วยวาด Diagram แบบ Advance และยังทำ Facilitation ใน Workshop ได้เพิ่มเติม



เป็นยังไงกันบ้างคะ กับ 8 ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ Miro

หวังว่าทุกคนจะลองเอา Miro ไปใช้ในการวางแผน การ Present งาน หรือทำ Workshop ออนไลน์กันดูนะคะ 👉 https://miro.com/index/


================

สุดท้ายนี้ ฝากติดตาม กด Like และกด Share Toolscape ตามช่องทางของเราเพื่อดูรีวิวซอฟต์แวร์ใหม่ๆ และความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ Digital Transformation

bottom of page