top of page
  • Thiti Kunajipimol

MRP คืออะไร? เครื่องมือวางแผนวัตถุดิบที่ธุรกิจผลิตไม่ควรพลาด!

อย่างที่ทุกท่านที่อยู่ในประเภทธุรกิจผลิตคงทราบดีอยู่แล้ว การวางแผนจัดซื้อและการใช้วัตถุดิบเพื่อการผลิต เป็นขั้นตอนสำคัญ ช่วยให้สามารถผลิตได้ตามเป้า Demand ที่วางไว้ และเก็บต้นทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมได้


แน่นอนว่า ขั้นตอนนี้จะเริ่มซับซ้อนขึ้น เมื่อธุรกิจเริ่มขยายตัว และ Excel อาจจะเอาไม่อยู่แล้ว วันนี้ Toolscape จะพามารู้จักกับประเภทซอฟต์แวร์ “MRP” ที่เอาไว้จัดการ “การวางแผนวัตถุดิบเพื่อการผลิต” กันครับ



✅ ย่อมาจากอะไร?

MRP ย่อมาจาก "Material Requirements Planning" ซึ่งหากเราแปลตามตัวแล้วก็คือ ซอฟต์แวร์ วางแผนความต้องการวัตถุดิบ ซึ่ง MRP ก็มักจะเป็นเป็นซอฟต์แวร์เฉพาะทางตัวแรกๆ ที่ธุรกิจในอุตสาหกรรมการผลิตต้องหามาใช้งาน รองจากซอฟต์แวร์หลักอย่าง ERP


✅ ใช้ทำอะไร?

MRP ถูกใช้ในการวางแผนการซื้อวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า โดยระบบจะตรวจสอบความต้องการวัตถุดิบจาก

  1. ออเดอร์การขาย ในกรณีที่เราต้องการจะผลิตสินค้าเพื่อ Made to order ว่ามีการขายสินค้ารายการไหนไปบ้างที่จะต้องทำการซื้อสินค้ารายการนั้นๆ หรือ วัตถุดิบในการผลิตสินค้ารายการนั้นๆให้เพียงพอต่อคำสั่งซื้อ

  2. ออเดอร์การสั่งผลิต ในกรณีที่เราต้องการจะผลิตสินค้าเพื่อ Made to stock และทราบจำนวนแน่ชัดแล้วว่า จะผลิตสินค้าตัวใดเท่าไหร่ตามที่ได้มีการ Forcast Demand ของสินค้าตัวนั้นๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า 

  3. คลังสินค้าคงเหลือ เพราะการสั่งซื้อสินค้าเข้ามาใหม่ทั้งหมด โดยไม่ตรวจสอบ สินค้าหรือ วัตถุดิบคงเหลือในคลังก่อน ก็คงจะฟังดูไม่สมเหตสมผลใช่ไหมล่ะครับ 


โดยเราจะใช้การตั้งค่าจุด Replenishment Point หรือ  Min - Max Stock หรือ ระดับสูงสุด - ต่ำสุด เพื่อให้ตัว MRP ทราบว่าถ้าสินค้า A ถึงระดับ Replenishment Point แล้วให้ MRP ทำการคำนวณว่าต้องสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มเท่าไหร่ ให้เท่ากับระดับสูงสุด หรือ Max นั่นเอง


ซึ่งการใช้ MRP จะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ว่าต้องซื้อสินค้าอะไรเข้ามาเพิ่มบ้าง มากน้อยแค่ไหน ไมให้เราต้องเกิดการต้นทุมจมหายไปกับ Stock วัตถุดิบที่เก็บไว้มากเกินไป และ ช่วยแบ่งเบาภาระทีมงาน ที่ไม่ต้องมานั่งเช็คทีละรายการสินค้า ซึ่งเป็นงานที่ทำได้ไม่ง่ายเลย


✅ ประเภทย่อยๆ

MRP มี 2 ประเภท ได้แก่ MRP I และ MRP II โดย 

  • MRP I หรือที่รู้จักกันในนาม "Material Requirements Planning" ใช้ข้อมูลจากวางแผนวัตถุดิบจาก คลังสินค้า และออเดอร์การผลิต (Manufacturing Order) โดยคำนวนผ่านสูตรการผลิต หรือ BOM (Bill of Material) เป็นหลัก

  • MRP II หรือที่รู้จักกันในนาม "Manufacturing Resources Planning" จะคล้ายกับ MRP I แต่ว่าจะเพิ่มความสามารถในส่วนของการ Forcast Demand ของสินค้าตัวนั้นๆ และ บางตัวก็มีความสามารถในการนำ Capacity หรือกำลังการผลิตของเครื่องจักรเข้ามาเป็นหนึ่งในปัจจัยการคำนวนได้อีกด้วย

✅ เหมาะกับใคร?

MRP เหมาะสำหรับ

  • ธุรกิจที่มีการผลิตในปริมาณมาก โดยเฉพาะในธุรกิจที่มีขั้นตอนการผลิตสินค้าที่มีความซับซ้อนจนการประเมินรายการวัตถุดิบที่ต้องซื้อด้วยวิธีแมนนวลเอาไม่อยู่แล้ว เช่น ธุรกิจ ผลิตอาหารและเครื่องดื่มขนาดใหญ่ ธุรกิจผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าอีเลกทรอนิค ธุรกิจชิ้นส่วนเครื่องจักรต่างๆ

  • อย่างไรก็ตาม ธุรกิจซื้อมาขายไปที่มีอัตราการหมุนเวียนสินค้าสูงมากๆ จนไม่สามารถให้พนักงานประเมินด้วยวิธี Manual เองได้ บางรายก็มีการนำ MRP เข้ามาใช้ในการวางแผนการซื้อสินค้าเข้ามาเติมสต็อคด้วยเช่นกัน เพียงแต่ว่า ไม่ต้องมีการคำนวนด้วยสูตรการผลิตเท่านั้นเอง


✅ ตัวอย่างซอฟต์แวร์

ผู้ให้บริการ MRP อาจจะมีอยู่สองรูปแบบด้วยกันคือ


1) MRP เฉพาะทาง เช่น

  • Fishbowl

  • MRPEasy

  • Katana


2) MRP ที่เป็น Module ใน ERP ขนาดใหญ่

ที่รู้จักกันดีอย่าง

  • Infor

  • Oracle

  • SAP

  • Microsoft

  • Acumatica และ

  • Epicor เป็นต้น 


เป็นยังไงกันบ้างครับ เราหวังว่าทุกท่านคงจะเข้าใจ MRP ในเบื้องต้นกันบ้างแล้วนะครับ 

แล้วก็อย่าลืม กด Like กด Share และกด Subscribe ช่อง Toolscape เพื่อติดตามคอนเท้นด้าน Digital Transformation ดีๆ ด้วยนะครับ 


#BOM #billofmaterials #erp #APS #ระบบวางแผนวัตถุดิบการผลิต

================

อย่าลืมกดกระดิ่งและ Subscribe ช่อง #Toolscape ของเราเพื่อตามอัปเดตแอปพลิเคชันและซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ต่อการบริหารจัดการธุรกิจ

นอกจากนี้ ยังติดตามเราได้ในช่องทางอื่นๆ ตามนี้เลย

bottom of page