top of page
  • Thiti Kunajipimol

ERP คืออะไร? พร้อมชื่อซอฟต์แวร์ ERP

หลายๆคนคงกำลังสงสัยใช่มั้ยละครับว่า ERP คือระบบอะไร ทำไมถึงมีคนพูดถึงและมองหากันเยอะ วันนี้ Toolscape จะมาอธิบายให้ฟังแบบสั้นๆ กันครับ


✅ ย่อมาจากอะไร

ERP ย่อมาจาก Enterprise Resources Planning หรือถ้าแปลตรงตัวก็คือ ระบบบริหารทรัพยากรขององค์กร แต่ในไทยก็จะใช้คำว่า ระบบ #ERP กันนี่ละครับ


✅ ใช้ทำอะไร

ERP คือระบบที่รองรับการบริหารการทำงานของทั้งองค์กร เป็นเหมือนกระดูกสันหลังขององค์กร ที่บริหารกระบวนการเอกสารต่างๆ และขั้นตอนการทำงานหลักๆ ของหลายๆ ฝ่ายงานในระบบเดียวกัน เช่น ฝ่ายขาย จัดซื้อ สต็อก คลังสินค้า ขนส่ง บัญชีการเงิน เป็นต้น เหมือนเป็นซอฟต์แวร์ที่ทุกฝ่ายงานใช้ร่วมกัน เพื่อให้งานต่อกันได้เนียนที่สุด


แต่ ERP จะรองรับงานของทุกฝ่ายได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของ ERP นั้นๆ อีก ในทั่วไป เราอาจจะแบ่ง ตลาดของ ERP ได้เป็น 3 Tiers สำหรับตลาดของไทยเรา

  • Tier แรก เราอาจจะเรียกว่าเป็นตลาดของซอฟต์แวร์ที่โฟกัสเรื่อง Back-office อย่างโปรแกรมบัญชี ซึ่งจะโฟกัสที่เอกสารซื้อ ขาย ค่าใช้จ่าย ภาษี และการลงบัญชี เพื่อออกรายงานด้านบัญชีที่ถูกต้อง อาจจะมีในส่วนของสต็อกในเบื้องต้น ซอฟต์แวร์ใน Tier นี้จะไม่ได้มีความซับซ้อนมาก ใช้งานง่ายตรงไปตรงมา

  • Tier ที่ 2 เป็น ERP ขนาดกลาง ที่มีโมดูลขยายออกไปเพิ่มเติม และมีฟีเจอร์ที่ลึกขึ้นในทุกโมดูล เช่น ระบบสต็อก คลังสินค้า และวางแผนวัตถุดิบการผลิต

    • ส่วนมาก ERP ขนาดกลางจะรองรับเงื่อนไขและความต้องการทางธุรกิจที่ซับซ้อนได้มากขึ้น และรองรับการผลิตขั้นต้น เช่น รองรับสินค้าประเภท Lot, การบริหารสูตรการผลิต (BOM), การแปรสภาพหรือประกอบสินค้า, การคำนวณต้นทุนเชิงลึก, การให้รายงาน P&L ในหลากหลายมุมมอง เป็นต้น

    • แต่ใน Tier นี้อาจจะไม่มีโมดูลแยกเฉพาะเจาะจงอย่าง HR, CRM, Quality control, WMS, Production planning หรือ Plant maintenance คือ อาจจะมีฟีเจอร์บางอย่างที่ทำบางเรื่องในโมดูลเหล่านี้ แต่ไม่ได้มีโมดูลนั้นๆ ที่ทำหน้าทีแบบครบวงจร ในกรณีนี้ก็ต้องมองหาระบบนั้นๆ มาเชื่อมต่อกันอีกที

  • Tier ที่ 3 เป็น ERP ขนาดใหญ่ ครอบคลุมเกือบทุกฝ่ายงานและมีโมดูลเฉพาะเจาะจงอย่างครบถ้วน ทำเรื่องผลิตและบริหาร Supply chain เชิงลึกได้ ส่วนมากที่เราเห็นในตลาดวันนี้จะเป็นซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ และจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือ Customize ซอฟต์แวร์ก่อนจะใช้งานได้


✅ ประเภทย่อยๆ

ERP อาจจะแบ่งได้เป็นแบบ Generalist และ Industry-specific

  • แบบ Generalist คือ ERP ที่สามารถรองรับประเภทธุรกิจได้หลากหลาย อาจจะไม่ได้มีฟีเจอร์ที่ลึกลงไปสำหรับประเภทธุรกิจหนึ่งๆ แต่ก็สามารถ Customize เพิ่มเติมได้

  • แบบ Industry-specific คือ ERP ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการของประเภทธุรกิจหนึ่งๆ โดยเฉพาะ เช่น ธุรกิจแฟชั่น/เสื้อผ้า โรงเรียน/มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล ประกันภัย เป็นต้น


✅ เหมาะกับใคร


ERP ในความหมายทั่วไปในตลาด จะหมายถึง ERP ใน Tier ที่ 2 ขึ้นไป ซึ่งธุรกิจที่จะมองหา ERP จะเป็นธุรกิจที่เติบโตแล้วในระดับหนึ่ง มีหลายฝ่ายงานที่แยกกันทำงานชัดเจน มีขั้นตอนกระบวนการทำงาน และความต้องการด้านระบบที่พอจะชัดเจน


ถ้าเป็นบริษัทที่ยังเล็กอยู่ หรือเพิ่งเปิดตัว ก็อาจจะยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องซื้อ ERP อาจจะมองหาแค่โปรแกรมบัญชีก็พอ


✅ ตัวอย่างซอฟต์แวร์


ERP ต่างชาติที่ทุกคนน่าจะรู้จักดี ได้แก่

  • #SAP ซึ่งก็จะมี Tier ของ Product แบ่งไปอีกเป็น SAP B1 หรือ SAP HANA

  • #Microsoft เองก็มี Product หลายตัว เช่น Microsoft Dynamics 365 ซึ่งเพิ่งจะเปลี่ยนชื่อเป็น Business Central (BC) หรือ Microsoft Navision

  • นอกจากนี้ก็ยังมีค่าย #Infor, #Oracle และ #QAD ที่เน้นเรื่องผลิต

ERP ที่เป็น Tier กลาง เช่น

  • MAC-5 Legacy

  • Winspeed

  • Odoo

  • Ecount ERP

  • Formula

  • Crystal Soft

  • Mango หรือ Pojjaman

เป็นต้น


แน่นอนว่า แต่ละตัวไม่ได้มีฟีเจอร์ที่เท่ากัน และโครงสร้างการคิดราคาไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบอย่างละเอียดว่าใครจะสามารถรองรับความต้องการขององค์กรได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว


🙋ใครกำลังมองหา ERP อยู่แล้วเลือกไม่ถูก Inbox มาถามเราหรือติดต่อมาได้เลยที่ hello@asapproject.co


=============

ใครอยากดูรีวิวซอฟต์แวร์ดีๆ อยากลืมติดตาม กดกระดิ่งและ Subscribe ได้ที่ YouTube ของเราครับ: https://www.youtube.com/channel/UCCXC_Mc3DzEfc3kYfzNb1aQ


นอกจากนี้ ยังติดตามเราได้ในช่องทางอื่นๆ ตามนี้เลย

bottom of page