Digital Transformation คืออะไร? มาเข้าใจทุกแง่มุมของการทรานส์ฟอร์มองค์กร
ถึงแม้คำว่า “Digital Transformation” จะอยู่ในกระแสการพูดคุยในวงการธุรกิจมานานสักพักแล้ว แต่ความหมายของคำนี้อาจจะยังไม่เป็นที่ชัดเจนสำหรับทุกคน ในฐานะที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ให้กับลูกค้ากว่า 20 ประเภทธุรกิจมาตลอดหลายปี เราจะมาอธิบายคำนี้ให้ทุกคนเข้าใจจากประสบการณ์ของพวกเรากันครับ
TYPE
Thoughts
📍Digital Transformation คืออะไร
Digital Transformation หรือ “DX” อาจมีความหมายที่ต่างกันไปตามบริบทของแต่ละธุรกิจ แต่หากพูดโดยพื้นฐานแล้ว จะหมายรวมได้ 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่
1. การนำเทคโนโลยีที่เหมาะสม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงานและ Value Chain ทั้งหมด เพื่อส่งมอบคุณค่าหลักของธุรกิจตั้งแต่ภายในองค์กร ไปจนถึงมือลูกค้า
2. การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมองค์กรและมุมมองของบุคลากร ให้เคยชินกับการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี เรียนรู้ที่จะโอบรับและรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ด้วยทัศนคติเชิงบวก และไม่กลัวที่จะคิดใหม่ทำใหม่
การทำ DX จึงไม่ใช่แค่เรื่องของการเอาซอฟต์แวร์หรือเทคโนโลยีเข้ามาใช้ แต่เป็นการเอาเข้ามาใช้ “อย่างไร” ให้มี “Impact” กับองค์กรตามเป้าหมายที่วางไว้ต่างหาก
📍 4 โดเมนหลักของ Digital Transformation
การทำ DX สามารถเกิดขึ้นได้ใน 4 โดเมน ได้แก่
01 Operation Agility หรือการทรานส์ฟอร์มกระบวนการทำงานโดยปกติของธุรกิจ
องค์กรส่วนมากจะเริ่มทำ DX กันในโดเมนนี้กันก่อน เพราะเป็นพื้นฐานของการทรานส์ฟอร์มในส่วนอื่นๆ โดยเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทำงานที่ทำกันทุกวันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัดเรื่องที่ไม่จำเป็นหรือเสียเวลา หรือเสียประสิทธิภาพออกไป ให้ระบบมาทำงานแทนเพื่อลดชั่วโมงแรงคน หรือเปลี่ยนกระบวนการใหม่เสียเลย
✅ ตัวอย่าง เช่น
การเปลี่ยนจากฟอร์มกระดาษมาเป็น Google Form
การนำระบบ CRM หรือ ERP เข้ามาใช้
การใช้ PowerApp (ระบบ Workflow Automation) เพื่อทำการอนุมัติใดๆ แบบออนไลน์
การเพิ่ม Productivity ของการจัดการโปรเจกต์ต่างๆ ด้วยระบบ Project Management เป็นต้น
02 Enhanced Customer Experience หรือการทรานส์ฟอร์มเพื่อพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้า
คือ การทำ DX เพื่อสร้าง Digital Product ใหม่ หรือการปรับขั้นตอนใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการมีปฏิสัมพันธ์ใดๆ กับลูกค้า หรือเพิ่มความ “Delight” ความพึงพอใจให้กับลูกค้า
✅ ตัวอย่าง เช่น
การทำแอปพลิเคชันใหม่ของแบรนด์
การทำเว็บไซต์ E-Commerce ที่มี UX ดีกว่าเดิม
การพัฒนาโปรแกรม Loyalty เพื่อให้ Rewards กับลูกค้าที่ซื้อซ้ำหรือชื่นชอบแบรนด์
การทำ Chatbot ที่ตอบคำถามลูกค้าได้ทันที ก่อนจะถึงคนตอบจริงๆ เป็นต้น
03 Innovative Business Model หรือการทรานส์ฟอร์มเพื่อขับเคลื่อนโมเดลธุรกิจใหม่ หรือช่องทางรายได้ใหม่
คือ การสร้าง Digital Platform หรือ Product ใดๆ เพื่อให้ธุรกิจในโมเดลใหม่เป็นไปได้ หรือเป็นช่องทางในการได้มาซึ่งรายได้ในแบบที่ไม่เคยทำมาก่อน และจะไม่สามารถเป็นไปได้หากไม่มี Digital Product นั้นๆ
✅ ตัวอย่าง เช่น
แพลตฟอร์มกลางเพื่อหาแม่บ้าน หรือช่าง (e.g. BeNeat, Q ช่าง, Seekster)
แพลตฟอร์มในการหา Freelancer (e.g. Fastwork)
แพลตฟอร์มในการหาคน (e.g. JobsDB, JobTopGun, LinkedIn)
บริการ Order Fulfillment ที่รับออเดอร์ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เท่านั้น เป็นต้น
04 Workforce Enablement หรือการทรานส์ฟอร์มเพื่อส่งเสริมบุคลากรในองค์กร
คือ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพื่อพัฒนาการทำงานด้าน HR ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น HRM, HRD, หรือการสรรหาบุคลากร ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานในองค์กร ส่งเสริมให้สามารถพัฒนาความสามารถของคนในองค์กร หรือสร้างเสริมให้มีการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างพนักงานในองค์กร เป็นต้น
✅ ตัวอย่าง เช่น
การนำเอาระบบ HRM เข้ามาเพื่อลดการทำ Payroll หรือทำให้ขั้นตอนอนุมัติขาดลามาสายรวดเร็วอัตโนมัติขึ้น
การนำระบบ Employee Engagement เข้ามาเพื่อเพิ่มการสื่อสารและความเข้าใจระหว่างกันและกันในองค์กร
การใช้ระบบ Applicant Tracking System (ATS) เพื่อทำให้กระบวนการตั้งแต่สรรหาผู้สมัครงาน การสัมภาษณ์งาน การขอข้อมูล และอนุมัติจ้างเป็นไปอย่างอัตโนมัติ และมีฐานข้อมูลเก็บไว้ได้ทั้งหมด
การใช้ระบบ HRD เข้ามาดูแลจัดการการติดตาม OKR หรือ KPI และประเมินผลการทำงานอย่างโปร่งใสและรวดเร็วขึ้น เป็นต้น
DX หรือการทำทรานส์ฟอรมเมชัน ที่เรากล่าวมาทั้งหมดนั้น อาจจะถูกเรียกว่า “โปรเจกต์ IT” ที่หลายองค์กรกำลังทำกันอยู่ก็ได้ ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะตระหนักได้แล้วว่าสิ่งที่ทำอยู่ก็คือ DX นั่นเอง
📍 4 โดเมนหลักของ Digital Transformation
การทำ DX สามารถเกิดขึ้นได้ใน 4 โดเมน ได้แก่
01 Operation Agility หรือการทรานส์ฟอร์มกระบวนการทำงานโดยปกติของธุรกิจ
องค์กรส่วนมากจะเริ่มทำ DX กันในโดเมนนี้กันก่อน เพราะเป็นพื้นฐานของการทรานส์ฟอร์มในส่วนอื่นๆ โดยเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทำงานที่ทำกันทุกวันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัดเรื่องที่ไม่จำเป็นหรือเสียเวลา หรือเสียประสิทธิภาพออกไป ให้ระบบมาทำงานแทนเพื่อลดชั่วโมงแรงคน หรือเปลี่ยนกระบวนการใหม่เสียเลย
✅ ตัวอย่าง เช่น
การเปลี่ยนจากฟอร์มกระดาษมาเป็น Google Form
การนำระบบ CRM หรือ ERP เข้ามาใช้
การใช้ PowerApp (ระบบ Workflow Automation) เพื่อทำการอนุมัติใดๆ แบบออนไลน์
การเพิ่ม Productivity ของการจัดการโปรเจกต์ต่างๆ ด้วยระบบ Project Management เป็นต้น
02 Enhanced Customer Experience หรือการทรานส์ฟอร์มเพื่อพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้า
คือ การทำ DX เพื่อสร้าง Digital Product ใหม่ หรือการปรับขั้นตอนใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการมีปฏิสัมพันธ์ใดๆ กับลูกค้า หรือเพิ่มความ “Delight” ความพึงพอใจให้กับลูกค้า
✅ ตัวอย่าง เช่น
การทำแอปพลิเคชันใหม่ของแบรนด์
การทำเว็บไซต์ E-Commerce ที่มี UX ดีกว่าเดิม
การพัฒนาโปรแกรม Loyalty เพื่อให้ Rewards กับลูกค้าที่ซื้อซ้ำหรือชื่นชอบแบรนด์
การทำ Chatbot ที่ตอบคำถามลูกค้าได้ทันที ก่อนจะถึงคนตอบจริงๆ เป็นต้น
03 Innovative Business Model หรือการทรานส์ฟอร์มเพื่อขับเคลื่อนโมเดลธุรกิจใหม่ หรือช่องทางรายได้ใหม่
คือ การสร้าง Digital Platform หรือ Product ใดๆ เพื่อให้ธุรกิจในโมเดลใหม่เป็นไปได้ หรือเป็นช่องทางในการได้มาซึ่งรายได้ในแบบที่ไม่เคยทำมาก่อน และจะไม่สามารถเป็นไปได้หากไม่มี Digital Product นั้นๆ
✅ ตัวอย่าง เช่น
แพลตฟอร์มกลางเพื่อหาแม่บ้าน หรือช่าง (e.g. BeNeat, Q ช่าง, Seekster)
แพลตฟอร์มในการหา Freelancer (e.g. Fastwork)
แพลตฟอร์มในการหาคน (e.g. JobsDB, JobTopGun, LinkedIn)
บริการ Order Fulfillment ที่รับออเดอร์ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เท่านั้น เป็นต้น
04 Workforce Enablement หรือการทรานส์ฟอร์มเพื่อส่งเสริมบุคลากรในองค์กร
คือ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพื่อพัฒนาการทำงานด้าน HR ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น HRM, HRD, หรือการสรรหาบุคลากร ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานในองค์กร ส่งเสริมให้สามารถพัฒนาความสามารถของคนในองค์กร หรือสร้างเสริมให้มีการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างพนักงานในองค์กร เป็นต้น
✅ ตัวอย่าง เช่น
การนำเอาระบบ HRM เข้ามาเพื่อลดการทำ Payroll หรือทำให้ขั้นตอนอนุมัติขาดลามาสายรวดเร็วอัตโนมัติขึ้น
การนำระบบ Employee Engagement เข้ามาเพื่อเพิ่มการสื่อสารและความเข้าใจระหว่างกันและกันในองค์กร
การใช้ระบบ Applicant Tracking System (ATS) เพื่อทำให้กระบวนการตั้งแต่สรรหาผู้สมัครงาน การสัมภาษณ์งาน การขอข้อมูล และอนุมัติจ้างเป็นไปอย่างอัตโนมัติ และมีฐานข้อมูลเก็บไว้ได้ทั้งหมด
การใช้ระบบ HRD เข้ามาดูแลจัดการการติดตาม OKR หรือ KPI และประเมินผลการทำงานอย่างโปร่งใสและรวดเร็วขึ้น เป็นต้น
DX หรือการทำทรานส์ฟอรมเมชัน ที่เรากล่าวมาทั้งหมดนั้น อาจจะถูกเรียกว่า “โปรเจกต์ IT” ที่หลายองค์กรกำลังทำกันอยู่ก็ได้ ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะตระหนักได้แล้วว่าสิ่งที่ทำอยู่ก็คือ DX นั่นเอง
📍 5 เหตุผลที่ต้องทรานส์ฟอร์ม
01 ต้องเปลี่ยนเพื่อความมั่นคง ลดความเสี่ยง และลดต้นทุน (Secure)
ในยุคที่คนหมุนเปลี่ยนงานเร็วขึ้นเรื่อยๆ ผู้ประกอบการหลายคนเริ่มหันมาเอางานทุกอย่างมาใส่ในเครื่องมือ รู้สึก “ปลอดภัย” ว่าอย่างน้อยถ้าเปลี่ยนคนทำงาน กระบวนการงาน ข้อมูล และผลงานต่างๆ ก็ยังคงอยู่ในระบบที่สามารถให้คนใหม่มาทำต่อได้
เมื่อลองนับชั่วโมงงานที่จะเสียไปจากการเริ่มต้นเรียนรู้งานทุกอย่างใหม่ หรือการสร้างกระบวนการงานขึ้นมาใหม่แล้ว การทรานส์ฟอร์มเพื่อให้ระบบเป็นเหมือนกระดูกสันหลังของธุรกิจ จึงถือว่าเป็นการ “ประหยัด” ค่าใช้จ่ายไปมากทีเดียว
✅ ตัวอย่างที่เห็นได้บ่อยที่สุด คือ การนำเอาระบบ ERP เข้ามาใช้ในองค์กร เพื่อให้ทุกฝ่ายงานได้ทำงานส่งต่อกัน ให้ระบบเป็นศูนย์รวมฐานข้อมูลสำคัญทั้งหมด และให้รายงานด้านบัญชีการเงินที่ถูกต้องที่สุดได้
02 ต้องเปลี่ยนเพื่ออยู่รอด (Survive)
หลายองค์กรต้องทรานส์ฟอร์มเพราะเลือกไม่ได้ อยู่ในโหมดเอาตัวรอด ถ้าไม่เปลี่ยนวันนี้ ในอนาคตอันใกล้จะต้องถูกคู่แข่งเอาชนะ หรือแย่งที่ยืนในตลาด จนอาจจะกอบกู้ความสูญเสียไม่ได้ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง และเทรนด์เปลี่ยนแปลงเร็วตลอดเวลา เช่น FMCG หรือ Fast Fashion
✅ ตัวอย่างที่ชัดที่สุด น่าจะเป็นช่วงโควิดที่ผ่านมา ที่ทุกองค์กรทั่วโลกถูกบังคับให้ปรับตัว โดยต้องเร่งออกนโยบายการ Work From Home ทั้งระบบการสื่อสาร การประชุมออนไลน์ การสร้าง Engagement ภายในทีม เป็นเรื่องใหม่สำหรับทุกคน แต่คนที่ปรับตัวได้ก่อน ก็สามารถดึงองค์กรกลับมาสู่ความปกติได้เร็วกว่า
03 ต้องเปลี่ยนเพื่อให้อยู่ทันปัจจุบัน (Maintain)
หลายองค์กรไม่ได้มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่เป็นพิเศษในการทรานส์ฟอร์ม ขอแค่ให้องค์กรอยู่ในยุคปัจจุบัน ไม่ล้าสมัย หรือตกเทรนด์จนเกินไป เปลี่ยนเพื่อ “Maintain” หรือคงไว้ซึ่งพื้นฐานที่ดีพอที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต หรือรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดฝัน องค์กรเหล่านี้อาจจะไม่รีบเร่งในการเปลี่ยนแปลงขนาดนั้น แต่พวกเขารู้ว่าจะต้องเปลี่ยน
✅ ตัวอย่าง เช่น การเปลี่ยนคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ให้เป็นรุ่นที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ การเลิกใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่สามารถอัพเดทอะไรหรือเชื่อมต่อกับใครได้อีกแล้ว การเลิกใช้ระบบที่ไม่มีผู้ให้บริการต่อแล้วในตลาด หรือการสนับสนุนให้คนในองค์กรได้เรียนรู้ทักษะด้านดิจิตอลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงาน เป็นต้น
04 ต้องเปลี่ยนเพื่อใช้เทคโลโลยีเป็นปัจจัยแห่งชัยชนะ (Win & Conquere)
องค์กรขนาดใหญ่ในโลกมักจะเป็นผู้เล่นแรกๆ เสมอเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ออกมาในตลาด เหตุผลที่ต้องขยับก่อน ก็เพราะอยากจะใช้แรงกระเพื่อมและผลลัพธ์จากเทคโนโลยีนั้นๆ มาเอาชนะคู่แข่ง และถ้าขยับได้เร็วพอ ส่วนแบ่งตลาดก็จะเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะมีกรณีที่ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ แต่องค์กรใหญ่ๆ ก็ไม่สามารถที่จะรอให้คู่แข่งคนอื่นชิงข้อได้เปรียบได้ อย่างน้อยก็ขอให้มีเหมือนกันไว้ก่อนก็ยังดี
✅ ตัวอย่างที่เราพอจะเห็นกันทุกวันก็คือธุรกิจ Retail ที่การแข่งขันดุเดือด ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้าหรือซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ต้องแข่งกันเองเพื่อแย่ง Traffic และการซื้อซ้ำ และแข่งกับ Marketplace ออนไลน์อย่าง Lazada, Shopee, และผู้เล่นหน้าใหม่อย่าง Temu ที่เพิ่งเข้ามาอีกเช่นกัน พวกเขาต้องการ “ข้อมูล” ผู้บริโภค และ “ดึงดูด” ให้ยึดติดกับแบรนด์ ไม่อยากไปที่อื่น หรือมาซื้อซ้ำๆ ด้วยความถี่ที่มากขึ้น
🔥 เพื่อที่จะชนะ พวกเขาต้องมี Loyalty Program ให้เราสะสมแต้ม แลกคะแนนได้ส่วนลด มีอีเมลหรือข้อความในแชทส่งมาเตือนทันเวลาทุกวันคู่ ลงทุนใน CDP ระดับโลก ลงทุนใน Cloud ระดับโลก ลงทุนสร้างแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ที่มีอัพเดทตลอดเวลา หรือแม้แต่สร้างห้างใหม่ในโลเคชันที่ดีกว่าเดิม
05 เพื่อสร้างเป็นทรัพย์สินดิจิตอล (Build an Asset)
สำหรับบางองค์กร การทรานส์ฟอร์มอาจจะถูกมองเหมือนกับการลงทุนกับทรัพย์สินบางอย่าง เช่น การซื้อตึกอาคาร การลงทุนกับฝูงรถของตนเอง หรือการซื้อหุ้นธุรกิจอื่น เป็นต้น องค์กรเหล่านี้อาจจะไม่ได้อยากแข่งขันกับใคร ไม่ต้องกลัวใครแย่งตลาดขนาดนั้น และระบบที่มีอยู่ก็มั่นคงเพียงพอที่จะต่อยอด แต่พวกเขาต้องการจะสร้าง Digital Product ที่สามารถทำเงินต่อไปได้ด้วย
✅ ตัวอย่าง เช่น บริษัทที่ผลิตและขายยา อาจจะอยากสร้างระบบเก็บฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้านยาที่มีความละเอียดมาก และในอนาคตอาจจะขาย API ให้กับแพลตฟอร์มด้าน Healthcare หรือโรงพยาบาลที่ต้องใช้บริการหรือข้อมูลนี้
หรือ เอเจนซี่ขายทัวร์ขนาดใหญ่ อาจจะทำแพลตฟอร์มเพื่อขายทัวร์ออนไลน์หลากหลายช่องทางให้กับหลายๆ ประเทศ เพื่อสุดท้ายจะเห็นข้อมูลและเทรนด์ที่เปลี่ยนไปในการท่องเที่ยว และสร้างแพ็กเกจที่สู้คู่แข่งได้ออกมาก่อน เป็นต้น
แน่นอนว่าบางองค์กรอาจจะมีมากกว่า 1 เหตุผลที่จะเริ่มทรานส์ฟอร์ม แต่เมื่อมีเหตุผลที่ชัดเจน เป้าหมายและกลยุทธ์ก็จะชัดเจนไปด้วย
📍 5 เหตุผลที่ต้องทรานส์ฟอร์ม
01 ต้องเปลี่ยนเพื่อความมั่นคง ลดความเสี่ยง และลดต้นทุน (Secure)
ในยุคที่คนหมุนเปลี่ยนงานเร็วขึ้นเรื่อยๆ ผู้ประกอบการหลายคนเริ่มหันมาเอางานทุกอย่างมาใส่ในเครื่องมือ รู้สึก “ปลอดภัย” ว่าอย่างน้อยถ้าเปลี่ยนคนทำงาน กระบวนการงาน ข้อมูล และผลงานต่างๆ ก็ยังคงอยู่ในระบบที่สามารถให้คนใหม่มาทำต่อได้
เมื่อลองนับชั่วโมงงานที่จะเสียไปจากการเริ่มต้นเรียนรู้งานทุกอย่างใหม่ หรือการสร้างกระบวนการงานขึ้นมาใหม่แล้ว การทรานส์ฟอร์มเพื่อให้ระบบเป็นเหมือนกระดูกสันหลังของธุรกิจ จึงถือว่าเป็นการ “ประหยัด” ค่าใช้จ่ายไปมากทีเดียว
✅ ตัวอย่างที่เห็นได้บ่อยที่สุด คือ การนำเอาระบบ ERP เข้ามาใช้ในองค์กร เพื่อให้ทุกฝ่ายงานได้ทำงานส่งต่อกัน ให้ระบบเป็นศูนย์รวมฐานข้อมูลสำคัญทั้งหมด และให้รายงานด้านบัญชีการเงินที่ถูกต้องที่สุดได้
02 ต้องเปลี่ยนเพื่ออยู่รอด (Survive)
หลายองค์กรต้องทรานส์ฟอร์มเพราะเลือกไม่ได้ อยู่ในโหมดเอาตัวรอด ถ้าไม่เปลี่ยนวันนี้ ในอนาคตอันใกล้จะต้องถูกคู่แข่งเอาชนะ หรือแย่งที่ยืนในตลาด จนอาจจะกอบกู้ความสูญเสียไม่ได้ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง และเทรนด์เปลี่ยนแปลงเร็วตลอดเวลา เช่น FMCG หรือ Fast Fashion
✅ ตัวอย่างที่ชัดที่สุด น่าจะเป็นช่วงโควิดที่ผ่านมา ที่ทุกองค์กรทั่วโลกถูกบังคับให้ปรับตัว โดยต้องเร่งออกนโยบายการ Work From Home ทั้งระบบการสื่อสาร การประชุมออนไลน์ การสร้าง Engagement ภายในทีม เป็นเรื่องใหม่สำหรับทุกคน แต่คนที่ปรับตัวได้ก่อน ก็สามารถดึงองค์กรกลับมาสู่ความปกติได้เร็วกว่า
03 ต้องเปลี่ยนเพื่อให้อยู่ทันปัจจุบัน (Maintain)
หลายองค์กรไม่ได้มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่เป็นพิเศษในการทรานส์ฟอร์ม ขอแค่ให้องค์กรอยู่ในยุคปัจจุบัน ไม่ล้าสมัย หรือตกเทรนด์จนเกินไป เปลี่ยนเพื่อ “Maintain” หรือคงไว้ซึ่งพื้นฐานที่ดีพอที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต หรือรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดฝัน องค์กรเหล่านี้อาจจะไม่รีบเร่งในการเปลี่ยนแปลงขนาดนั้น แต่พวกเขารู้ว่าจะต้องเปลี่ยน
✅ ตัวอย่าง เช่น การเปลี่ยนคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ให้เป็นรุ่นที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ การเลิกใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่สามารถอัพเดทอะไรหรือเชื่อมต่อกับใครได้อีกแล้ว การเลิกใช้ระบบที่ไม่มีผู้ให้บริการต่อแล้วในตลาด หรือการสนับสนุนให้คนในองค์กรได้เรียนรู้ทักษะด้านดิจิตอลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงาน เป็นต้น
04 ต้องเปลี่ยนเพื่อใช้เทคโลโลยีเป็นปัจจัยแห่งชัยชนะ (Win & Conquere)
องค์กรขนาดใหญ่ในโลกมักจะเป็นผู้เล่นแรกๆ เสมอเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ออกมาในตลาด เหตุผลที่ต้องขยับก่อน ก็เพราะอยากจะใช้แรงกระเพื่อมและผลลัพธ์จากเทคโนโลยีนั้นๆ มาเอาชนะคู่แข่ง และถ้าขยับได้เร็วพอ ส่วนแบ่งตลาดก็จะเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะมีกรณีที่ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ แต่องค์กรใหญ่ๆ ก็ไม่สามารถที่จะรอให้คู่แข่งคนอื่นชิงข้อได้เปรียบได้ อย่างน้อยก็ขอให้มีเหมือนกันไว้ก่อนก็ยังดี
✅ ตัวอย่างที่เราพอจะเห็นกันทุกวันก็คือธุรกิจ Retail ที่การแข่งขันดุเดือด ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้าหรือซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ต้องแข่งกันเองเพื่อแย่ง Traffic และการซื้อซ้ำ และแข่งกับ Marketplace ออนไลน์อย่าง Lazada, Shopee, และผู้เล่นหน้าใหม่อย่าง Temu ที่เพิ่งเข้ามาอีกเช่นกัน พวกเขาต้องการ “ข้อมูล” ผู้บริโภค และ “ดึงดูด” ให้ยึดติดกับแบรนด์ ไม่อยากไปที่อื่น หรือมาซื้อซ้ำๆ ด้วยความถี่ที่มากขึ้น
🔥 เพื่อที่จะชนะ พวกเขาต้องมี Loyalty Program ให้เราสะสมแต้ม แลกคะแนนได้ส่วนลด มีอีเมลหรือข้อความในแชทส่งมาเตือนทันเวลาทุกวันคู่ ลงทุนใน CDP ระดับโลก ลงทุนใน Cloud ระดับโลก ลงทุนสร้างแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ที่มีอัพเดทตลอดเวลา หรือแม้แต่สร้างห้างใหม่ในโลเคชันที่ดีกว่าเดิม
05 เพื่อสร้างเป็นทรัพย์สินดิจิตอล (Build an Asset)
สำหรับบางองค์กร การทรานส์ฟอร์มอาจจะถูกมองเหมือนกับการลงทุนกับทรัพย์สินบางอย่าง เช่น การซื้อตึกอาคาร การลงทุนกับฝูงรถของตนเอง หรือการซื้อหุ้นธุรกิจอื่น เป็นต้น องค์กรเหล่านี้อาจจะไม่ได้อยากแข่งขันกับใคร ไม่ต้องกลัวใครแย่งตลาดขนาดนั้น และระบบที่มีอยู่ก็มั่นคงเพียงพอที่จะต่อยอด แต่พวกเขาต้องการจะสร้าง Digital Product ที่สามารถทำเงินต่อไปได้ด้วย
✅ ตัวอย่าง เช่น บริษัทที่ผลิตและขายยา อาจจะอยากสร้างระบบเก็บฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้านยาที่มีความละเอียดมาก และในอนาคตอาจจะขาย API ให้กับแพลตฟอร์มด้าน Healthcare หรือโรงพยาบาลที่ต้องใช้บริการหรือข้อมูลนี้
หรือ เอเจนซี่ขายทัวร์ขนาดใหญ่ อาจจะทำแพลตฟอร์มเพื่อขายทัวร์ออนไลน์หลากหลายช่องทางให้กับหลายๆ ประเทศ เพื่อสุดท้ายจะเห็นข้อมูลและเทรนด์ที่เปลี่ยนไปในการท่องเที่ยว และสร้างแพ็กเกจที่สู้คู่แข่งได้ออกมาก่อน เป็นต้น
แน่นอนว่าบางองค์กรอาจจะมีมากกว่า 1 เหตุผลที่จะเริ่มทรานส์ฟอร์ม แต่เมื่อมีเหตุผลที่ชัดเจน เป้าหมายและกลยุทธ์ก็จะชัดเจนไปด้วย
📍 5 ความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ต้องเตรียมรับมือจากการทำทรานส์ฟอร์มเมชัน
การทำทรานส์ฟอร์มเมชันนั้นมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้านในองค์กร ซึ่งเราสามารถเตรียมพร้อมล่วงหน้าเพื่อรับมือและทำให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้อย่างราบรื่นที่สุด
มาดู 5 ความเปลี่ยนแปลงที่เราควรเตรียมแผนรับมือจากการทรานส์ฟอร์มองค์กรกัน
01 การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมองค์กร
ด้วยรูปแบบการทำงานที่อาจเปลี่ยนไป วัฒนธรรมการทำงาน การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันก็อาจเปลี่ยนแปลงไปด้วย เราควรพิจารณาว่าวัฒนธรรมใดที่เรายังอยากจะให้คงไว้แม้จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา หรือวัฒนธรรมใดที่อยากจะเปลี่ยนไป เช่น
👉 ถึงจะมี Slack เพื่อแชทคุยงานโดยเฉพาะ แล้วแต่ไฟล์งานสำคัญๆ ก็ยังอยากจะให้มีอีเมลยืนยันเหมือนเดิม
👉 ถึงแม้จะใช้แอปพลิเคชันในการอนุมัติงานออนไลน์เป็นหลักแล้ว แต่ประชุมรายสัปดาห์ก็ยังสำคัญอยู่เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างทีม เป็นต้น
02 การเปลี่ยนแปลงด้านกระบวนการทำงาน
หากมีการทรานส์ฟอร์มกระบวนการเกี่ยวกับ Operation แน่นอนว่าบางกระบวนการอาจจะหายไป และอาจมีกระบวนการใหม่ๆ เพิ่มเข้ามา
👉 นั่นอาจหมายถึงการต้องทำระบบ ISO ใหม่ การประเมินความเสี่ยงใหม่ การวางนโยบายด้านความปลอดภัยของข้อมูลใหม่ การวางโครงสร้างทีมใหม่ การปรับหัวข้อในการ Onboard พนักงานใหม่ เป็นต้น
03 การเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร
ในเมื่อกระบวนการงานเปลี่ยนไป วัฒนธรรมเปลี่ยนไป ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรภายในองค์กร ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
👉 การเปลี่ยนแปลงนี้ อาจหมายถึง การเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของพนักงานเนื่องจากเนื้อหาของงานที่หายไป การโยกย้ายทีมหรือฝ่ายงานตามโครงสร้างใหม่ที่ปรับไปตามระบบ การรับพนักงานเข้ามาเพิ่มจากการมีกระบวนการงานใหม่ๆ หรือการลาออกของพนักงานบางคนที่อาจไม่เข้ากับการเปลี่ยนแปลงใหม่ เป็นต้น
💡 เรื่องคนเป็นเรื่องยากเสมอ เพราะฉะนั้น การสื่อสารให้ชัดเจนกับคนในองค์กรอยู่สม่ำเสมอ ตลอดการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้ทุกคนได้เตรียมตัวเตรียมใจกับการเปลี่ยนแปลง และมีความเข้าใจที่มากเพียงพอต่อการปรับตัว
04 การเปลี่ยนแปลงของระบบที่ใช้
การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้เป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดที่สุด และมักจะเป็นเรื่องที่ถูกโฟกัสก่อนเมื่อจะทรานส์ฟอร์ม
👉 การเปลี่ยนแปลงไม่ได้จบลงเมื่อขึ้นระบบได้เรียบร้อยแล้วเท่านั้น แต่อยู่ที่การที่คนในกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบนั้นๆ สามารถเรียนรู้การใช้ระบบใหม่ ลงมือใช้งานอย่างเต็มที่ และใช้เครื่องมือเพื่อลดภาระของตนเองได้สำเร็จต่างหาก
เมื่อไรที่คนในองค์กรเข้าใจการใช้ระบบเป็นเครื่องมือ เมื่อนั้นเราจึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนของการทรานส์ฟอร์ม
💡 การเตรียมตัวเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและการเปลี่ยนระบบ ได้แก่ การจัดทีมที่จะคอยให้ความรู้ความเข้าใจกับระบบใหม่ การระบุบทบาทหน้าที่ของบุคลากรคนใดคนหนึ่งหรือทีมใดทีมหนึ่งให้เป็นผู้ติดต่อหลักกับผู้ให้บริการระบบในกรณีที่เกิดปัญหาการใช้งาน การวางแผนเทรนนิ่งอบรมการใช้ระบบอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกส่วนงานมากที่สุด เป็นต้น
05 ความถี่ของการเปลี่ยนแปลง
นอกจากการเปลี่ยนแปลงที่พูดถึงมาทั้งหมดแล้ว อีกเรื่องที่ต้องเตรียมตัวก็คือความถี่ของการเปลี่ยนแปลงที่จะมากขึ้นนั่นเอง
👉 เพราะการทำทรานส์ฟอร์มเมชันคือการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่าโปรเจกต์อาจจะจบลง แต่เมื่อวัฒนธรรม คน กระบวนการมีการปรับเปลี่ยนไปแล้ว ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเห็นความจำเป็นหรือความต้องการในการพัฒนาต่อเนื่องขึ้นไปอีก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่เราต้องเตรียมองค์กรให้พร้อม และมีความเคยชินกับการรับมือเรื่องใหม่ๆ ที่อาจเข้ามาอีกในอนาคต
👉 การมีฝ่ายที่ทำหน้าที่จัดการการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะ (มักจะเป็นฝ่ายที่มีชื่ออย่าง Change Management หรือฝ่าย Strategy) ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการรับมือ และจะทำให้เราสามารถต่อยอดการทรานส์ฟอร์มขององค์กรได้อย่างยั่งยืน
เราได้ทราบถึง 5 ความเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับการทรานส์ฟอร์มไปแล้ว อย่าลืมวางแผนในการรับมือกับเรื่องวัฒนธรรมองค์กร บุคลากร กระบวนการทำงาน ระบบเทคโนโลยี และการรับมือความเปลี่ยนแปลงกันไว้ด้วยนะครับ
📍 5 ความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ต้องเตรียมรับมือจากการทำทรานส์ฟอร์มเมชัน
การทำทรานส์ฟอร์มเมชันนั้นมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้านในองค์กร ซึ่งเราสามารถเตรียมพร้อมล่วงหน้าเพื่อรับมือและทำให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้อย่างราบรื่นที่สุด
มาดู 5 ความเปลี่ยนแปลงที่เราควรเตรียมแผนรับมือจากการทรานส์ฟอร์มองค์กรกัน
01 การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมองค์กร
ด้วยรูปแบบการทำงานที่อาจเปลี่ยนไป วัฒนธรรมการทำงาน การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันก็อาจเปลี่ยนแปลงไปด้วย เราควรพิจารณาว่าวัฒนธรรมใดที่เรายังอยากจะให้คงไว้แม้จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา หรือวัฒนธรรมใดที่อยากจะเปลี่ยนไป เช่น
👉 ถึงจะมี Slack เพื่อแชทคุยงานโดยเฉพาะ แล้วแต่ไฟล์งานสำคัญๆ ก็ยังอยากจะให้มีอีเมลยืนยันเหมือนเดิม
👉 ถึงแม้จะใช้แอปพลิเคชันในการอนุมัติงานออนไลน์เป็นหลักแล้ว แต่ประชุมรายสัปดาห์ก็ยังสำคัญอยู่เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างทีม เป็นต้น
02 การเปลี่ยนแปลงด้านกระบวนการทำงาน
หากมีการทรานส์ฟอร์มกระบวนการเกี่ยวกับ Operation แน่นอนว่าบางกระบวนการอาจจะหายไป และอาจมีกระบวนการใหม่ๆ เพิ่มเข้ามา
👉 นั่นอาจหมายถึงการต้องทำระบบ ISO ใหม่ การประเมินความเสี่ยงใหม่ การวางนโยบายด้านความปลอดภัยของข้อมูลใหม่ การวางโครงสร้างทีมใหม่ การปรับหัวข้อในการ Onboard พนักงานใหม่ เป็นต้น
03 การเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร
ในเมื่อกระบวนการงานเปลี่ยนไป วัฒนธรรมเปลี่ยนไป ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรภายในองค์กร ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
👉 การเปลี่ยนแปลงนี้ อาจหมายถึง การเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของพนักงานเนื่องจากเนื้อหาของงานที่หายไป การโยกย้ายทีมหรือฝ่ายงานตามโครงสร้างใหม่ที่ปรับไปตามระบบ การรับพนักงานเข้ามาเพิ่มจากการมีกระบวนการงานใหม่ๆ หรือการลาออกของพนักงานบางคนที่อาจไม่เข้ากับการเปลี่ยนแปลงใหม่ เป็นต้น
💡 เรื่องคนเป็นเรื่องยากเสมอ เพราะฉะนั้น การสื่อสารให้ชัดเจนกับคนในองค์กรอยู่สม่ำเสมอ ตลอดการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้ทุกคนได้เตรียมตัวเตรียมใจกับการเปลี่ยนแปลง และมีความเข้าใจที่มากเพียงพอต่อการปรับตัว
04 การเปลี่ยนแปลงของระบบที่ใช้
การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้เป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดที่สุด และมักจะเป็นเรื่องที่ถูกโฟกัสก่อนเมื่อจะทรานส์ฟอร์ม
👉 การเปลี่ยนแปลงไม่ได้จบลงเมื่อขึ้นระบบได้เรียบร้อยแล้วเท่านั้น แต่อยู่ที่การที่คนในกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบนั้นๆ สามารถเรียนรู้การใช้ระบบใหม่ ลงมือใช้งานอย่างเต็มที่ และใช้เครื่องมือเพื่อลดภาระของตนเองได้สำเร็จต่างหาก
เมื่อไรที่คนในองค์กรเข้าใจการใช้ระบบเป็นเครื่องมือ เมื่อนั้นเราจึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนของการทรานส์ฟอร์ม
💡 การเตรียมตัวเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและการเปลี่ยนระบบ ได้แก่ การจัดทีมที่จะคอยให้ความรู้ความเข้าใจกับระบบใหม่ การระบุบทบาทหน้าที่ของบุคลากรคนใดคนหนึ่งหรือทีมใดทีมหนึ่งให้เป็นผู้ติดต่อหลักกับผู้ให้บริการระบบในกรณีที่เกิดปัญหาการใช้งาน การวางแผนเทรนนิ่งอบรมการใช้ระบบอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกส่วนงานมากที่สุด เป็นต้น
05 ความถี่ของการเปลี่ยนแปลง
นอกจากการเปลี่ยนแปลงที่พูดถึงมาทั้งหมดแล้ว อีกเรื่องที่ต้องเตรียมตัวก็คือความถี่ของการเปลี่ยนแปลงที่จะมากขึ้นนั่นเอง
👉 เพราะการทำทรานส์ฟอร์มเมชันคือการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่าโปรเจกต์อาจจะจบลง แต่เมื่อวัฒนธรรม คน กระบวนการมีการปรับเปลี่ยนไปแล้ว ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเห็นความจำเป็นหรือความต้องการในการพัฒนาต่อเนื่องขึ้นไปอีก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่เราต้องเตรียมองค์กรให้พร้อม และมีความเคยชินกับการรับมือเรื่องใหม่ๆ ที่อาจเข้ามาอีกในอนาคต
👉 การมีฝ่ายที่ทำหน้าที่จัดการการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะ (มักจะเป็นฝ่ายที่มีชื่ออย่าง Change Management หรือฝ่าย Strategy) ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการรับมือ และจะทำให้เราสามารถต่อยอดการทรานส์ฟอร์มขององค์กรได้อย่างยั่งยืน
เราได้ทราบถึง 5 ความเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับการทรานส์ฟอร์มไปแล้ว อย่าลืมวางแผนในการรับมือกับเรื่องวัฒนธรรมองค์กร บุคลากร กระบวนการทำงาน ระบบเทคโนโลยี และการรับมือความเปลี่ยนแปลงกันไว้ด้วยนะครับ
📍 6 ปัจจัยความสำเร็จในการทำ Digital Transformation
เมื่อเราเข้าใจตัวเองแล้วว่าต้องการจะทรานส์ฟอร์มอะไร และเพราะอะไร ก็คงจะเริ่มอยากจะวางแผนเพื่อลงมือทำ แต่เราอยากจะชวนมารู้จัก 6 ปัจจัยสำคัญที่ควรจะมีให้ครบเพื่อการันตีความสำเร็จในการทรานส์ฟอร์มกันก่อน
ปัจจัย 01 เป้าหมายที่ชัด
การทำ DX เช่นเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ก็ต้องมีเป้าที่ชัดเจน ฝ่ายบริหารจะต้องประชุมกันเพื่อวาง Vision หรือภาพขององค์กรในอีก 3 ถึง 5 ปีข้างหน้าว่าต้องการจะเห็นองค์กรเป็นอย่างไร ในด้านของ
✅ คนและโครงสร้างองค์กร: จะมีการเพิ่มคนในอัตราใด โครงสร้างจะมีระดับชั้นที่มากขึ้นหรือจะ Flat ลง
✅ ระบบ: ต้องการให้มีระบบใหม่ที่ให้ภาพใดกับองค์กร ตัวอย่างเช่น ต้องการมีระบบใหญ่ที่รองรับกระบวนการทำงานของฝ่ายงานหลัก และมีระบบ CDP ที่แข็งแรง หรือ อย่างน้อยจะต้องมีแดชบอร์ดที่สามารถแจ้งสถานะของออเดอร์ได้ที่โกดังสินค้าทุกแห่ง หรือ ต้องการการเชื่อมต่อที่แข็งแรงระหว่างคลังสินค้าทุกแห่งกับระบบ ERP ให้ได้ เป็นต้น
✅ ขั้นตอนการทำงาน: ต้องการจะ Streamline ขั้นตอนของฝ่ายใดเป็นพิเศษหรือไม่ หรืออยากจะให้ขั้นตอนที่สำคัญและมี Impact ต่อยอดขายมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างไร เป็นต้น
✅ การขยายและเติบโตของธุรกิจ: วางแผนจะมีสาขาเปิดเพิ่มเติมอย่างไร จะมีช่องทางรายได้ใหม่ หรือจะมีธุรกิจใหม่เกิดขึ้นอีกหรือไม่
✅ สินค้า กลุ่มลูกค้า หรือ Supplier: จะมีการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มลูกค้าอย่างไร จะมีเปลี่ยน Supplier หรือไม่ จะมีการพัฒนา ผลิต หรือนำเข้าสินค้าอะไรเพิ่มเติมหรือไม่
คำถามเหล่านี้ จะช่วยให้เกิดภาพที่ค่อยๆ ชัดเจนขึ้นในอนาคตและจะมีผลต่อการออกแบบเป้าหมายด้านทรานส์ฟอร์มเมชันที่ต้องการ และตราบใดที่มีเป้าหมายชัดเจน การทำทรานส์ฟอร์มเมชันจะไม่เสียเปล่า และทีมจะทำงานอย่างมั่นใจ
ปัจจัย 02 ทีมที่ใช่
ทีมในที่นี่แบ่งเป็น ทีมภายในองค์กร และบ่อยครั้งก็คือทีมของ Vendor หรือผู้ให้บริการที่จะเข้ามาทำงานร่วมกัน
👉 ทีมภายใน: เลือกคนที่จะเป็น Project Champion ให้ถูกต้อง ให้มี Authority เพียงพอ และมีซัพพอร์ทด้านทรัพยากรที่จำเป็นในการทำโปรเจกต์
👉 ทีม Vendor: เลือก Vendor ที่มีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญที่เรื่องที่สำคัญกับเรา มีวิธีการทำงานหรือการดำเนินงานโปรเจกต์ที่สอดคล้องกับองค์กร จะทำให้เดินไปด้วยกันอย่างราบรื่นมากกว่า
ปัจจัย 03 เครื่องมือที่ใช่
เมื่อชัดเจนว่าต้องการจะทรานส์ฟอร์มอะไรและมีทีมที่พร้อมจะขับเคลื่อนโปรเจกต์ ก็ต้องเลือกเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ถูกต้องเหมาะสมกับโจทย์ของเรา
👉 การเลือกซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์สำหรับการทรานส์ฟอร์มแต่ละเรื่องไม่เหมือนกันสำหรับแต่ละองค์กร จึงต้องมีวิธีการคัดเลือกที่มีหลักการ ยิ่งมูลค่าในการลงทุนสูงเท่าไหร่ ยิ่งต้องเลือกด้วยความละเอียดอ่อนและระมัดระวัง เพื่อสร้างความชัดเจนและมั่นใจในการเดินต่อในโปรเจกต์
👉 การเลือกเครื่องมือที่ผิด อาจทำให้โปรเจกต์ไม่สำเร็จแม้จะเริ่มไปแล้วครึ่งทาง ทำให้อาจต้องย้อนกลับมาเริ่มใหม่และเสียทรัพยากรโดยไม่จำเป็น
ปัจจัย 04 เวลาที่ใช่
การเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการเริ่มทำทรานส์ฟอร์มเมชันก็สำคัญเช่นกัน
👉 เลือกช่วงเวลาที่มีทีมงานพร้อม และผู้ที่จะนำโปรเจกต์มีงานในมือที่พอดี หรือมีเวลาพอที่จะมาโฟกัสกับการทรานส์ฟอร์มมากกว่างานประจำ หากไม่มีคนในตอนนี้ ก็อาจควรรอให้มีคนๆ นั้นเข้ามาพร้อมทำงานก่อน
👉 เลือกช่วงเวลาที่ไม่มีโปรเจกต์หรือความเสี่ยงสำคัญ เช่น กำลังจะต้องเปิดตัวสาขาใหม่ที่มีขนาดใหญ่ กำลังมีปัญหาฟ้องร้องที่มีความเสี่ยงสูง กำลังจะเปลี่ยนบอร์ดบริหารยกชุด หรือกำลังจะเปิดตัวสินค้าใหม่หลังจากที่ทำ R&D มานานหลายปี เป็นต้น
👉 เลือกช่วงเวลาที่มีเงินไว้ลงทุนระดับหนึ่ง อาจจะไม่ต้องสามารถจ่ายได้ทั้งโปรเจกต์ในตอนนี้ แต่อย่างน้อยมีมากพอที่จะอำนวยให้โปรเจกต์ในขั้นต้นเดินไปได้ เป็นต้น
ปัจจัย 05 ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
แม้ว่าการมีทรัพยากรที่พร้อม เวลาที่ใช่ และเป้าหมายที่ชัดเจนจะทำให้โปรเจกต์เริ่มเดินได้แล้ว แต่หากไม่มีความต่อเนื่องในการทำ ไม่ได้ให้ความสำคัญและความสม่ำเสมอในการขับเคลื่อนโปรเจกต์ ก็อาจจะทำให้เกิดการชะลอ หรือหยุดไปเลย
👉 เช่น หาก Project Champion มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนคน หรือ Vendor เกิดเลื่อนแผนกระทันหัน หากไม่มีใครที่ยังผลักดันโปรเจกต์ต่อ ก็จะทำให้สิ่งที่มีการเริ่มต้นมาเสีย Momentum สำคัญ หรือถูกปิดไปอย่างน่าเสียดาย
👉 จงฟอร์มทีมทรานส์ฟอร์มเมชันให้มีหลายมือเพื่อให้งานยังถูกส่งต่อกันได้แม้จะมีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน การมี Vendor ที่ดี จะช่วยให้โปรเจกต์ของเรายังดำเนินต่อไปได้
ปัจจัย 06 ผู้นำ
ปัจจัยสุดท้ายที่สำคัญที่สุด คือ ผู้นำขององค์กร
👉ตราบใดที่ผู้นำมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจน แม้จะไม่มีปัจจัยอื่นๆ อย่างพร้อมเพรียงในตอนนี้ แต่ผู้นำที่เก่งก็จะสามารถค่อยๆ หาหรือสร้างให้มีปัจจัยเหล่านั้นได้
👉ผู้นำที่ดีเข้าใจขั้นตอนกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ที่จำเป็นจะต้องเกิด รู้วิธีการ Motivate คนในทีมให้เห็นความสำคัญและร่วมกันทรานส์ฟอร์ม และช่วยซัพพอร์ทการเปลี่ยนแปลงด้วยทรัพยากรและการบริหารที่เหมาะสมตามช่วงเวลาต่างๆ ได้
การทำทรานส์ฟอร์มเมชันจะมีความเสี่ยงน้อยที่สุด เมื่อองค์กรมีทั้ง 6 ปัจจัยที่เราพูดถึงมาทั้งหมด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหากขาดข้อใดข้อหนึ่งจะเริ่มไม่ได้
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือข้อที่ 1 และข้อที่ 6 ถ้ามีผู้นำและเป้าหมายที่ชัดเจน ปัจจัยอื่นๆ จะตามมาได้
📍 6 ปัจจัยความสำเร็จในการทำ Digital Transformation
เมื่อเราเข้าใจตัวเองแล้วว่าต้องการจะทรานส์ฟอร์มอะไร และเพราะอะไร ก็คงจะเริ่มอยากจะวางแผนเพื่อลงมือทำ แต่เราอยากจะชวนมารู้จัก 6 ปัจจัยสำคัญที่ควรจะมีให้ครบเพื่อการันตีความสำเร็จในการทรานส์ฟอร์มกันก่อน
ปัจจัย 01 เป้าหมายที่ชัด
การทำ DX เช่นเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ก็ต้องมีเป้าที่ชัดเจน ฝ่ายบริหารจะต้องประชุมกันเพื่อวาง Vision หรือภาพขององค์กรในอีก 3 ถึง 5 ปีข้างหน้าว่าต้องการจะเห็นองค์กรเป็นอย่างไร ในด้านของ
✅ คนและโครงสร้างองค์กร: จะมีการเพิ่มคนในอัตราใด โครงสร้างจะมีระดับชั้นที่มากขึ้นหรือจะ Flat ลง
✅ ระบบ: ต้องการให้มีระบบใหม่ที่ให้ภาพใดกับองค์กร ตัวอย่างเช่น ต้องการมีระบบใหญ่ที่รองรับกระบวนการทำงานของฝ่ายงานหลัก และมีระบบ CDP ที่แข็งแรง หรือ อย่างน้อยจะต้องมีแดชบอร์ดที่สามารถแจ้งสถานะของออเดอร์ได้ที่โกดังสินค้าทุกแห่ง หรือ ต้องการการเชื่อมต่อที่แข็งแรงระหว่างคลังสินค้าทุกแห่งกับระบบ ERP ให้ได้ เป็นต้น
✅ ขั้นตอนการทำงาน: ต้องการจะ Streamline ขั้นตอนของฝ่ายใดเป็นพิเศษหรือไม่ หรืออยากจะให้ขั้นตอนที่สำคัญและมี Impact ต่อยอดขายมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างไร เป็นต้น
✅ การขยายและเติบโตของธุรกิจ: วางแผนจะมีสาขาเปิดเพิ่มเติมอย่างไร จะมีช่องทางรายได้ใหม่ หรือจะมีธุรกิจใหม่เกิดขึ้นอีกหรือไม่
✅ สินค้า กลุ่มลูกค้า หรือ Supplier: จะมีการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มลูกค้าอย่างไร จะมีเปลี่ยน Supplier หรือไม่ จะมีการพัฒนา ผลิต หรือนำเข้าสินค้าอะไรเพิ่มเติมหรือไม่
คำถามเหล่านี้ จะช่วยให้เกิดภาพที่ค่อยๆ ชัดเจนขึ้นในอนาคตและจะมีผลต่อการออกแบบเป้าหมายด้านทรานส์ฟอร์มเมชันที่ต้องการ และตราบใดที่มีเป้าหมายชัดเจน การทำทรานส์ฟอร์มเมชันจะไม่เสียเปล่า และทีมจะทำงานอย่างมั่นใจ
ปัจจัย 02 ทีมที่ใช่
ทีมในที่นี่แบ่งเป็น ทีมภายในองค์กร และบ่อยครั้งก็คือทีมของ Vendor หรือผู้ให้บริการที่จะเข้ามาทำงานร่วมกัน
👉 ทีมภายใน: เลือกคนที่จะเป็น Project Champion ให้ถูกต้อง ให้มี Authority เพียงพอ และมีซัพพอร์ทด้านทรัพยากรที่จำเป็นในการทำโปรเจกต์
👉 ทีม Vendor: เลือก Vendor ที่มีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญที่เรื่องที่สำคัญกับเรา มีวิธีการทำงานหรือการดำเนินงานโปรเจกต์ที่สอดคล้องกับองค์กร จะทำให้เดินไปด้วยกันอย่างราบรื่นมากกว่า
ปัจจัย 03 เครื่องมือที่ใช่
เมื่อชัดเจนว่าต้องการจะทรานส์ฟอร์มอะไรและมีทีมที่พร้อมจะขับเคลื่อนโปรเจกต์ ก็ต้องเลือกเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ถูกต้องเหมาะสมกับโจทย์ของเรา
👉 การเลือกซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์สำหรับการทรานส์ฟอร์มแต่ละเรื่องไม่เหมือนกันสำหรับแต่ละองค์กร จึงต้องมีวิธีการคัดเลือกที่มีหลักการ ยิ่งมูลค่าในการลงทุนสูงเท่าไหร่ ยิ่งต้องเลือกด้วยความละเอียดอ่อนและระมัดระวัง เพื่อสร้างความชัดเจนและมั่นใจในการเดินต่อในโปรเจกต์
👉 การเลือกเครื่องมือที่ผิด อาจทำให้โปรเจกต์ไม่สำเร็จแม้จะเริ่มไปแล้วครึ่งทาง ทำให้อาจต้องย้อนกลับมาเริ่มใหม่และเสียทรัพยากรโดยไม่จำเป็น
ปัจจัย 04 เวลาที่ใช่
การเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการเริ่มทำทรานส์ฟอร์มเมชันก็สำคัญเช่นกัน
👉 เลือกช่วงเวลาที่มีทีมงานพร้อม และผู้ที่จะนำโปรเจกต์มีงานในมือที่พอดี หรือมีเวลาพอที่จะมาโฟกัสกับการทรานส์ฟอร์มมากกว่างานประจำ หากไม่มีคนในตอนนี้ ก็อาจควรรอให้มีคนๆ นั้นเข้ามาพร้อมทำงานก่อน
👉 เลือกช่วงเวลาที่ไม่มีโปรเจกต์หรือความเสี่ยงสำคัญ เช่น กำลังจะต้องเปิดตัวสาขาใหม่ที่มีขนาดใหญ่ กำลังมีปัญหาฟ้องร้องที่มีความเสี่ยงสูง กำลังจะเปลี่ยนบอร์ดบริหารยกชุด หรือกำลังจะเปิดตัวสินค้าใหม่หลังจากที่ทำ R&D มานานหลายปี เป็นต้น
👉 เลือกช่วงเวลาที่มีเงินไว้ลงทุนระดับหนึ่ง อาจจะไม่ต้องสามารถจ่ายได้ทั้งโปรเจกต์ในตอนนี้ แต่อย่างน้อยมีมากพอที่จะอำนวยให้โปรเจกต์ในขั้นต้นเดินไปได้ เป็นต้น
ปัจจัย 05 ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
แม้ว่าการมีทรัพยากรที่พร้อม เวลาที่ใช่ และเป้าหมายที่ชัดเจนจะทำให้โปรเจกต์เริ่มเดินได้แล้ว แต่หากไม่มีความต่อเนื่องในการทำ ไม่ได้ให้ความสำคัญและความสม่ำเสมอในการขับเคลื่อนโปรเจกต์ ก็อาจจะทำให้เกิดการชะลอ หรือหยุดไปเลย
👉 เช่น หาก Project Champion มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนคน หรือ Vendor เกิดเลื่อนแผนกระทันหัน หากไม่มีใครที่ยังผลักดันโปรเจกต์ต่อ ก็จะทำให้สิ่งที่มีการเริ่มต้นมาเสีย Momentum สำคัญ หรือถูกปิดไปอย่างน่าเสียดาย
👉 จงฟอร์มทีมทรานส์ฟอร์มเมชันให้มีหลายมือเพื่อให้งานยังถูกส่งต่อกันได้แม้จะมีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน การมี Vendor ที่ดี จะช่วยให้โปรเจกต์ของเรายังดำเนินต่อไปได้
ปัจจัย 06 ผู้นำ
ปัจจัยสุดท้ายที่สำคัญที่สุด คือ ผู้นำขององค์กร
👉ตราบใดที่ผู้นำมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจน แม้จะไม่มีปัจจัยอื่นๆ อย่างพร้อมเพรียงในตอนนี้ แต่ผู้นำที่เก่งก็จะสามารถค่อยๆ หาหรือสร้างให้มีปัจจัยเหล่านั้นได้
👉ผู้นำที่ดีเข้าใจขั้นตอนกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ที่จำเป็นจะต้องเกิด รู้วิธีการ Motivate คนในทีมให้เห็นความสำคัญและร่วมกันทรานส์ฟอร์ม และช่วยซัพพอร์ทการเปลี่ยนแปลงด้วยทรัพยากรและการบริหารที่เหมาะสมตามช่วงเวลาต่างๆ ได้
การทำทรานส์ฟอร์มเมชันจะมีความเสี่ยงน้อยที่สุด เมื่อองค์กรมีทั้ง 6 ปัจจัยที่เราพูดถึงมาทั้งหมด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหากขาดข้อใดข้อหนึ่งจะเริ่มไม่ได้
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือข้อที่ 1 และข้อที่ 6 ถ้ามีผู้นำและเป้าหมายที่ชัดเจน ปัจจัยอื่นๆ จะตามมาได้
ถึงตาคุณแล้ว
ถึงตรงนี้ทุกคนคงได้เข้าใจคำว่า "Digital Transformation" กันมากขึ้นแล้ว แต่อย่าลืมว่าการลงมือทำสำคัญที่สุด
ให้เรามั่นใจว่าเรามีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายในการทรานส์ฟอร์มที่ชัดเจนสำหรับองค์กร
ให้เราเตรียมปัจจัยความสำเร็จให้พร้อมมากที่สุดเท่าที่ทำได้ แต่ผู้นำสำคัญที่สุด
ให้เราวางแผนรับความเปลี่ยนแปลงไว้ล่วงหน้า เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนที่สุด
การทรานส์ฟอร์มของแต่ละองค์กรอาจไม่เหมือนกัน แต่ไม่ว่าจะสเกลเล็กหรือใหญ่ ก้าวแรกสำคัญที่สุดครับ
ASAP Project เป็นที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ที่จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจด้วยเทคโนโลยี
#DigitalTransformation #DX
Feeling overwhelmed?
Let us help you find the right tools.
Feeling overwhelmed?
Let us help you find the right tools.
Feeling overwhelmed?
Let us help you find the right tools.
1448/18 Soi Ladprao 87 (Chandrasuk),
Klongchan, Bangkapi, Bangkok, 10240
© 2024 by ASAP Project Co., Ltd.
All Rights Reserved.
1448/18 Soi Ladprao 87 (Chandrasuk), Klongchan, Bangkapi, Bangkok, 10240
© 2024 by ASAP Project Co., Ltd.
All Rights Reserved.
1448/18 Soi Ladprao 87 (Chandrasuk), Klongchan, Bangkapi, Bangkok, 10240
© 2024 by ASAP Project Co., Ltd.
All Rights Reserved.