- Thiti Kunajipimol
WMS คืออะไร? พร้อมตัวอย่างซอฟต์แวร์
✅ ย่อมาจากอะไร?
WMS ย่อมาจาก “Warehouse Management System” หรือ “ระบบบริหารคลังสินค้า” นั่นเองครับ
อย่าสับสนกับ “Inventory Management System” นะครับ
✅ ใช้ทำอะไร?
ตามชื่อครับ WMS ใช้เพื่อบริหารคลังสินค้า แต่จะให้ชัดเจนขึ้นไปอีกเรามาดู 8 หน้าที่หลักๆ ของ WMS กันครับ
ออกแบบโฟลวการทำงานในคลัง ไม่ว่าจะเป็นการหยิบ หรือการเก็บ รวมถึงการระบุหน่วยในการสต็อกไปได้จนถึงระดับที่เล็กที่สุด จากคลัง > แถว > ชั้น > โซน > Bin (คือตรงไหนในโซนนั้นๆ) และออกแบบว่าสินค้าอะไรควรจะเก็บตรงไหน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่สูงสุด
ติดตามสินค้า ว่าถูกเก็บอยู่ที่ไหนกันแน่ จะมีประโยชน์เมื่อมีสินค้าหลายพัน SKU หรือมีที่เก็บเยอะมาก จนไม่สามารถเดินหาเองได้ โดยส่วนใหญ่จะใช้เทคโนโลยีการสแกน Barcode หรือ RFID เข้ามาทำงานด้วยครับ
การรับและจัดเก็บสินค้า (Receiving and putaway) สำหรับสินค้าขาเข้า หรือ “Inbound order” (เช่น มาจากการซื้อ) WMS จะช่วยให้เราจัดการกระบวนการรับสินค้า ว่ารับอะไรมา ล็อตอะไร และจะเอาไปเก็บไว้ที่ไหน
การหยิบและแพ็คสินค้า (Picking and packing) สำหรับสินค้าขาออก หรือ “Outbound order” ที่มาจากการขาย โดยจะช่วยให้เราไปหยิบสินค้ามาได้ถูกตามออเดอร์ และติดตามสถานะในการหยิบแพ็คสินค้า เพื่อเตรียมส่งของ
การส่งของ (Shipping) จัดการสถานะในการขนส่งสินค้า รวมถึงการออกเอกสารแจ้งหนี้ วางบิล หรือพวกใบ bill of lading (B/L) กรณีส่งออกล่วงหน้าเพื่อเตรียมส่งของได้เลย
ดูประสิทธิภาพการทำงานของคนทำงานในคลังสินค้า ว่าทำได้ตามเป้าหรือไม่ ใครต่ำหรือได้ตามมาตรฐาน
จัดการพื้นที่เตรียมโหลดสินค้า เพื่อช่วยให้คนขับรถรู้ว่าจะต้องมารับของที่ Dock ใด ถ้าเป็นตัวที่ Advance ก็จะช่วยบริหาร Dock ข้ามสาขาหรือประเทศได้ หรือจัดการเรื่อง Logistics ได้ด้วย
รายงาน เพื่อช่วยให้เห็นประสิทธิภาพการทำงานของคลังสินค้าในทุกเรื่อง เพื่อนำไปปรับปรุง
ถึงตรงนี้ ต้องขอบอกก่อนว่า WMS ทำหน้าที่ “บริหาร Inventory” ระดับหนึ่ง (หมายถึง การดูจำนวนสินค้าเข้าออก หรือการคุมเอกสารด้านซื้อขาย ที่มีผลต่อการทำรับหรือส่งออกจากระบบ) แต่ตัวที่จะทำเรื่องนี้จริงๆ มักจะเป็น ERP นะครับ
✅ ประเภทย่อยๆ
อาจจะแบ่งได้ใน 2 มิติง่ายๆ ได้แก่
มิติที่ 1: รูปแบบของระบบ แบ่งเป็น Standalone VS Integrated
แบบ Standalone คือ WMS ที่ขายแยกเป็นระบบของตัวเองที่ทำแค่เรื่องนี้เท่านั้น มักจะต้องไปเชื่อมกับ ERP และ TMS อีกที
แบบ Integrated คือ เป็นโมดูล WMS ที่เป็นส่วนหนึ่งของ ERP ขนาดใหญ่ อาจจะขอซื้อแยกได้ในบางกรณี โดยหากไม่ซื้อ อาจจะได้แค่ในส่วนของ Inventory Management แต่ยังไม่สามารถบริหาร “สถานที่” เก็บแบบละเอียดได้
มิติที่ 2: รูปแบบของการใช้งาน แบ่งเป็น On-premise VS Cloud
แบบ On-premise จะใช้งานผ่านการติดตั้งโปรแกรมและเรียกใช้จากคอมพิวเตอร์ของตัวเอง ไม่ต้องเปิด Browser หรือมีอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา
แบบ Cloud คือใช้งานผ่าน Cloud ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา มักจะเป็นการขายแบบ SaaS
✅ เหมาะกับใคร?
ธุรกิจที่มี
สินค้า SKU เยอะมากๆ ต้องติดตามหมายเลข Lot และเลข Serial และจำเป็นต้องแยกแยะอย่างชัดเจน เพื่อให้หยิบของสำหรับแต่ละออเดอร์อย่างแม่นยำ เช่น พวกอะไหล่ต่างๆ เครื่องมือแพทย์ สารเคมี เป็นต้น
หรือมีศูนย์กระจายสินค้า (DC) หรือโกดังที่เก็บสินค้าใหญ่ๆ ที่ใช้คนเดินหยิบ เดินจำเอาไม่ได้ ต้องรู้แน่ชัดว่าของอยู่ที่ไหน
อาจจะยังไม่เหมาะกับธุรกิจที่ไม่มีความจำเป็นต้อง Track สถานที่ในการเก็บของในระดับที่ย่อยมากๆ เช่น ถ้าแค่รู้ว่าอยู่คลังไหนก็พอแล้ว ก็อาจจะใช้แค่ ERP ก็พอครับ
✅ ตัวอย่าง Vendor
WMS ของต่างประเทศ
แบบ Standalone
Aptean
Blue Yonder (หรือชื่อก่อนคือ JDA Software)
Epicor
Fishbowl
Körber
Infor
Sage
แบบ Integrated (เป็นโมดูล WMS ใน ERP)
IBM
Oracle
SAP (ตัว S/4 HANA ขึ้นไป)
Dynamics365 (Microsoft)
WMS ของไทย
แบบ Standalone
KASCO IT
Rubix
Similan WMS
WM3 (by OGA)
IWM (by Double I Solutions)
Riverplus
================
อย่าลืมกดกระดิ่งและ Subscribe ช่อง #Toolscape ของเราเพื่อตามอัปเดตแอปพลิเคชันและซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ต่อการบริหารจัดการธุรกิจ
นอกจากนี้ ยังติดตามเราได้ในช่องทางอื่นๆ ตามนี้เลย
📍Website: https://www.asapproject.co
📍YouTube: https://www.youtube.com/channel/UCCXC_Mc3DzEfc3kYfzNb1aQ
📍Facebook: https://www.facebook.com/ToolscapebyASAP