top of page
  • Thiti Kunajipimol

Areas of Digital Transformation for Manufacturing Business เริ่มต้นทรานซ์ฟอร์มธุรกิจผลิตอย่างไรดี

Updated: Mar 23, 2022

หากที่บ้านคุณทำธุรกิจผลิต (Manufacturing) นี่คือบทความที่จะพาคุณไปรู้จัก

Areas of Digital Transformation สำหรับธุรกิจของคุณกันครับ



ในบทความที่แล้วทุกท่านน่าจะเริ่มเห็นภาพของการเตรียมตัวทำ Digital Transformation กับธุรกิจที่บ้าน ที่คล้ายกับการออกเดินทางขึ้นสู่ยอดเขากันไปแล้ว ในบทความนี้เรามีกล้องส่องทางไกลมาฝากทายาททุกท่านครับ ASAP Project จะช่วยให้ท่านผู้อ่านได้มองเห็นยอดเขาของท่านได้ชัดเจนขึ้นอีกหน่อยโดยการพูดถึง Areas of Digital Transformation ฉบับเริ่มต้นกันครับ


และเพื่อให้ทุกท่านสามารถเข้าใจในบริบทของธุรกิจตัวเอง ผมขออนุญาตแยกบทความนี้ออกมาเป็น 3 บทความย่อย ตาม 4 Business Vertical ซึ่งท่านสามารถอ่านเฉพาะ Vertical ของตัวเองได้ ส่วนในบทความนี้จะโฟกัสในส่วนของ “Manufacturing Vertical - กลุ่มธุรกิจผลิต” หรือจะอ่านทุก Vertical เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างกัน ซึ้งนั่นอาจนำมาซึ่ง Idea ใหม่ๆก็ได้ ตามลิงค์ทางด้านล่างนี้ครับ



ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจในภาพรวมกันก่อนนะครับ

ผมขอแบ่ง Areas of Digital Transformation ออกมาเป็น 5 Areas หลักๆดังนี้ครับ


  1. Customer Confront (ส่วนงานที่สัมผัสกับลูกค้าโดยตรง) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขาย งานมาร์เกตติ้ง และการดูแลลูกค้าหลังการขาย เครื่องมือที่เกี่ยวข้องเช่น: Sales Automation, Order Management, CRM, CDP, Helpdesk, ChatBot, POS

  2. Core Engines งานอย่างบัญชี-การเงิน งานจัดซื้อ บริหารสินค้าคงคลัง มักจะเป็นแกนหลักของธุรกิจทั่วไปอยู่แล้ว ซึ่งมักจะเป็นโมดูลย่อยๆอยู่ในซอฟต์แวร์ ERP แต่บางธุรกิจที่ต้องการการจัดการที่ซับซ้อนขึ้นก็อาจจะต้องใช้ ซอฟต์แวร์เฉพาะทางแยกออกมา นี่จะเป็นกลุ่มเครื่องมือที่ทำให้ธุรกิจของคุณ “เป๊ะ” มากๆครับ เครื่องมือที่เกี่ยวข้องเช่น: Accounting Software, ERP, Inventory Management System, E-Procurement System

  3. Advance Trading & Manufacturing tools ในธุรกิจขนาดใหญ่หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตมักจะต้องการเครื่องมือเฉพาะทางที่ใช้ในการบริหารจัดการงานที่ซับซ้อนขึ้น เพราะการวางแผนการผลิตนั้นไม่ใช่เรื่องหมูๆเลย ยิ่งคุณมีสูตรการผลิต และ ขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อน บางธุรกิจอาจจะวุ่นวายในระดับของวัตถุดิบ และบางธุรกิจอาจจะต้องลงลึกถึงคิวการใช้เครื่องจักรต่างๆ และการวัดผลผลิต - ของเสีย กันเลยทีเดียว เครื่องมือที่เกี่ยวข้องเช่น: MRP, APS, MES, WMS, TMS, Fleet Management

  4. Management Office งานส่วนนี้เป็นงานออฟฟิสที่เกี่ยวข้องกับการมองรายงานภาพรวมของธุรกิจ การประสานงาน และการเดินเอกสาร ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลาในการดำเนินการมากอยู่เหมือนกันหากไม่มีเครื่องมือเข้ามาช่วยจัดการ เครื่องมือที่เกี่ยวข้องเช่น: Project Management tools, Workflow Automation, BI

  5. HR Management งานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการพนักงานทั้งหลายที่จะช่วยย่นระยะเวลาการทำงานของคุณไปได้มาก คุณสามารถอ่านบทความ เกี่ยวกับ HR Transformation ได้ที่ Link นี้ครับ “HR Transformation เครื่องมือที่เกี่ยวข้องเช่น: HRM, HRD, Recruitment System, Employee Engagement Tools


ซึ่งทั้ง 5 Areas นี้อาจจะมีความเข้มข้นมากน้อยแตกต่างกันไปตามประเภทและขนาดของธุรกิจ ซึ่งในบทความนี้ (Manufacturing Vertical - กลุ่มธุรกิจผลิต) เราจะมาโฟกัสกันในข้อที่ 1 และ 3 เป็นหลักกันก่อนนะครับ เพราะทั้งสองข้อจะแสดงความแตกต่างที่ค่อนข้างชัดเจนตามประเภทธุรกิจ ผมอาจจะยังไม่ได้พูดถึงข้อที่ 2, 4 และ 5 มากนักเพราะทั้งสามข้อนี้จะแสดงความแตกต่างตาม ขนาดของธุรกิจและการให้ความสำคัญของผู้บริหารมากกว่า

อย่างไรก็ตาม คุณผู้อ่านสามารถเข้าไปอ่านบทความเกี่ยวกับทั้ง 5 ข้อแบบเต็มๆเพิ่มเติมได้ที่ Link นี้ครับ มาเข้าใจ Areas of Digital Transformation ขององค์กร และทุกประเภทซอฟต์แวร์ที่คุณต้องรู้จัก



Manufacturing Vertical - กลุ่มธุรกิจผลิต

เรากำลังพูดถึงกลุ่มธุรกิจที่มีขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนโดยเฉพาะในส่วนของการผลิต ดังนั้นการที่จะทำให้คุณสามารถมองเห็นรายงานต้นทุนและประสิทธิภาพงานที่สำคัญๆได้ ก็คือความสามารถในการติดตาม (Tracking) ผลลัพธ์ในขั้นตอนต่างๆให้ได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็น area ที่ Digital Tools หรือ Software สามารถช่วยคุณได้เยอะมากๆครับ


Customer Confront

  • Sales ธุรกิจผลิตอาจต้องติดต่อกับลูกค้าทั้งในมุม B2C และ B2B ดังนั้นคุณอาจจะต้องมีการใช้เครื่องมือที่รองรับรูปแบบการทำงานในทั้งสองสไตล์ สำหรับช่องทางแบบ B2B คุณอาจจะอยากมี CRM ดีๆซักตัวที่ช่วยในการบันทึกประวัติการซื้อขายกับลูกค้ารายนั้นๆ พร้อมทั้งติดตามสถานะทางการขาย (Sales Pipeline Tracking) ด้วยว่าอยู่ในขั้นตอนใด เช่น ถ้าคุณขายสินค้าในลักษณะ Made-to-order คุณอาจจะอยากเห็น order ต่างๆแบ่งตามสถานะ อยู่ระหว่างการเสนอราคา, ผลิตสินค้าตัวอย่าง, ลูกค้าอนุมัติสินค้าตัวอย่างแล้ว, สั่งผลิตแล้ว, รอจัดส่งสินค้า เป็นต้น และคุณอาจจะอยากแบ่ง Tier ของลูกค้า เพื่อให้สิทธิพิเศษทางราคากับลูกค้าคุณสำคัญของคุณ หรือ กรณีที่ sales ท่านหนึ่งเกิดมีเหตุให้ต้องหยุดงาน เราก็ยังมีข้อมูลให้พนักงานท่านอื่นๆช่วยดูแลต่อไปได้ แต่หากคุณมีการขายสินค้าให้กับ End-consumer โดยตรงผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย คุณอาจจะต้องมีการใช้เครื่องมืออย่าง Order Management ซึ่งระบบนี้จะรวม Order จากทุกๆช่องทางมาบริหารจัดการที่จุดเดียวและนั่นจะทำให้ทีมงานหลังบ้านของคุณทำงานได้ง่ายขึ้น อีกทั้งคุณอาจจะใช้มันในการเก็บฐานข้อมูลลูกค้าขั้นต้นด้วยก็ได้

  • Marketing เพิ่มเติมจากที่อธิบายเกี่ยวกับ CRM และ CDP ไปทางด้านบน หากธุรกิจของคุณ มีการติดต่อกับทั้งลูกค้า B2B และ B2C ผมขอแนะนำให้คุณมองหา CRM หรือ CDP ที่ยืดหยุ่นพอจะรองรับได้ทั้งสองรูปแบบควบคู่กันไปด้วย เพราะไม่ใช่ CRM ทุกตัวที่จะเหมาะสำหรับการทำงานทั้งสองรูปแบบ เพราะ CRM สำหรับ B2B จะช่วยในการติดตามสินค้าที่มี Sales Cycle ที่ยาว และเน้นการติดต่อด้วย Email เป็นหลัก ส่วน CRM ที่เหมาะสำหรับ B2C จะเน้นการเก็บ Customer Attribute หรือ ข้อมูลคุณลักษณะของลูกค้าเพื่อไปสร้าง Customer Segmentation และทำ Personalised Marketing และรองรับการติดต่อผ่านช่องทางอย่าง Chat และ Social Media อีกด้วย

  • After-sales Support สำหรับธุรกิจผลิตแล้วบางครั้งการดูแลหลังการส่งมอบสินค้าไปให้ก็เป็นสิ่งที่คุณต้องให้ความสำคัญเช่นกัน บ่อยครั้งที่สินค้าของคุณอาจะต้องการการบำรุงรักษาตามอายุการใช้งานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากสินค้าคุณมีช่วงเวลาการรับประกันเครื่องมืออย่าง CRM ก็จะเข้ามาช่วยคุณในส่วนนี้ในการติดตามรอบการบำรุงรักษาให้กับลูกค้าแต่ละรายของคุณอย่างไม่ขาดตกบกพร่องเพราะมันจะช่วยให้คุณดูแลพวกเขาได้แบบ Proactive คุณสามารถติดต่อไปก่อนที่จะถึงรอบได้ด้วยการแจ้งเตือนที่แม่นยำ และ เก็บประวัติการดูแลได้ตลอด ส่วนการรับ Request จากลูกค้า คุณควรจะมองหา Helpdesk Software ซักตัวเพื่อใช้ในการบริหารจัดการ Request โดยจำแนกประเภทของ Request ให้กับทีมต่างๆที่รับผิดชอบ และกำหนด SLA (Service Level Agreement) เพื่อสร้างมาตรฐานการดูแลลูกค้าให้ดีครับ หากคุณ Digitalize งานในส่วนนี้ได้สำเร็จแล้วล่ะก็ คุณก็จะมองเห็นภาพรายงานในด้านการบริการหลังการขายได้อย่างชัดเจนมากๆครับ ว่ามี Request เรื่องไหนเข้ามามากน้อยเพียงใด และ อะไรคือปัญหาใหญ่ที่ต้องนำไปปรับปรุงต่อไป


Advance Manufacturing Tools

การบริหารจัดการผลิตด้วยงานกระดาษ หรือ Excel ในธุรกิจผลิตนั้น เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยทีมงานที่ทุ่มทั้งแรงกายแรงใจสูงมากๆในการทำงาน แต่จะดีกว่าไหม ถ้าคุณลองมองหาเครื่องมือเหล่านี้เข้ามาช่วยจัดการ

  • Production Management ในการผลิตสินค้าต่างๆนั้น มักจะมีรายละเอียดของสูตรการผลิต วัตถุดิบ กระบวนการผลิต และ Cost Center ที่ซับซ้อน คุณอาจเคยใช้เวลาในการวางแผนการผลิตบน excel ของคุณเป็นชั่วโมงๆ แต่แล้วก็มี order ใหม่แทรกเข้ามากระทันหันทำให้คุณต้องใช้เวลาอีกหลายชั่วโมงในการรื้อแผนทุกอย่างใหม่ใช่ไหมครับ “MRP” (Material Requirement Planning) คือเครื่องมือเบื้องต้นอย่างแรกที่จะเข้ามาช่วยให้คุณบริหารจัดการในเรื่องนี้ โดยเฉพาะการวางแผนวัตถุดิบ ให้เพียงพอต่อการผลิต ทำหน้าที่ตัดและจองวัตถุดิบ และทำการสั่งซื้อวัตถุดิบที่ไม่มีในคลัง ทำให้มองเห็นต้นทุนการผลิตเบื้องต้น และระยะเวลาคร่าวๆ ที่จะใช้ (ขึ้นอยู่กับขอบเขตของซอฟต์แวร์แต่ละแบรนด์ด้วย) แต่ถ้าคุณต้องการจะลงรายละเอียดและวางแผนว่าออเดอร์ใดจะเริ่มผลิตและผลิตเสร็จเมื่อใด โดยใช้เครื่องจักรตัวไหนบ้าง ผลิตอะไรก่อนหลัง และจับต้นทุนเพิ่มเติมทั้งในส่วนของเครื่องจักรและแรงงานที่ Exact มากขึ้นนั้น ก็ควรจะเริ่มมองหาเครื่องมืออย่าง “APS” (Advance Planning & Scheduling) และ “MES” (Manufacturing Execution System) เพื่อจัดการเครื่องจักรโดยเฉพาะ ควบคู่กันไปด้วยครับ

  • Warehouse Management เมื่อธุรกิจของคุณโตขึ้น คลังสินค้าของคุณก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นไปด้วย ปัญหาการจัดเก็บ แพ็ค และหยิบสินค้าออกให้ตรงตาม Lot และตามออเดอร์ ก็คงจะเป็นสิ่งที่น่าปวดหัวอยู่ไม่น้อยหากปราศจากการบริหารจัดการที่ดี “WMS” หรือ Warehouse Management System คือเครื่องมือที่จะช่วยคุณให้สามารถรับและเบิกสินค้าได้อย่างแม่นยำ และยังบอก Location ที่คุณเก็บสินค้านั้นๆ ว่าอยู่ที่คลังไหน โซนไหน ชั้นไหน ได้ในระดับ Detail อีกด้วย ซอฟต์แวร์บางตัวอาจมาพร้อมระบบเครื่องยิง Barcode และ QR Code ให้เราทำงานได้รวดเร็วแม่นยำขึ้นด้วยครับ

  • Fleet / Transportation Management หากคุณทำธุรกิจที่มีหน่วยขนส่งสินค้าเป็นของตนเอง หรืออาจจะ Outsource และต้องการบริหาร ติดตาม และ Optimize ประสิทธิภาพ เครื่องมือที่คุณต้องการคือ “Fleet Management หรือ TMS” (Transportation Management System) ซึ่งจะช่วยให้คุณบริหารจัดการการขนส่งสินค้าของคุณได้ดีขึ้นทั้งการวางแผนเส้นทางที่วิ่งจัดส่งให้ครอบคลุมจุดหมายสูงสุดและประหยัดที่สุด การติดตามสถานะพัสดุต่างๆ ว่าส่งถึงมือลูกค้าแล้วหรือยัง การติดตามคุณภาพการขับรถของคนขับ และอาจรวมถึงการบริหารจัดการซ่อมบำรุงกลุ่มพาหนะขนส่งของเราอีกด้วย


เริ่มต้นอย่างไรดี

เอาล่ะครับ เมื่อคุณอ่านมาถึงตรงนี้ ผมคิดว่าคุณน่าจะพอมองเห็นภาพของการมีซอฟต์แวร์ต่างๆเข้ามาช่วยในธุรกิจ Manufacturing พอสมควรแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่คุณควรจะเริ่มทำก็คือ ศึกษาทำความเข้าใจกับซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับ area ที่คุณให้ความสำคัญ และเริ่มรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นออกมาเป็น List

ซึ่งสำหรับธุรกิจผลิตแล้ว คุณควรจะโฟกัสที่ขั้นตอนการผลิตและการจัดการวัตถุดิบเป็นพิเศษ แล้วลองพิจารณาว่าซอฟต์แวร์ที่คุณกำลังมองหาอยู่นั้น สามารถช่วยคุณจัดการปัญหาเหล่านั้นได้จริงหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน เพราะมันอาจจะถึงเวลาที่ต้องให้ระบบเป็นตัวหลักในการวางแผนการผลิตแทนที่จะยึดติดกับพนักงานคนใดคนหนึ่ง เพราะคุณก็ไม่อยากเห็นสถานะการแบบ “ขาดเขาก็เหมือนขาดใจ” ใช่ไหมล่ะครับ


ทั้งนี้ หากคุณมองว่าการศึกษาข้อมูลทั้งหมดด้วยตัวเองอาจเป็นสิ่งที่ยากเกินไป คุณอาจจะเริ่มจากการพูดคุยกับคนรู้จักในธุรกิจประเภทเดียวกัน หรือลองมองหาผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำปรึกษากับคุณได้

อย่างไรก็ตาม ผมขอแนะนำว่าอย่าพึ่งเชื่อหรือใช้ซอฟต์แวร์ตัวเดียวกันกับธุรกิจนั้นๆโดยทันที เพราะแม้ว่าคุณจะอยู่ในประเภทธุรกิจเดียวกัน แต่ workflow, ขนาด, ทีมงาน และ style ของแต่ละบริษัทก็แตกต่างกันและนั่นก็เป็นประเด็นที่สำคัญที่ส่งผลต่อการเลือกซอฟต์แวร์ด้วย


ดังนั้นคุณในฐานะของทายาทที่ต้องการเปลี่ยนแปลง ต้องการทำ Digital Transformation ผมเชื่อว่าคุณคือคนที่สำคัญที่สุดและต้องเข้าใจเรื่องนี้ให้ได้มากกว่าใคร เพราะคุณจะต้องทำหน้าที่โน้มน้าวทุกๆคนในบริษัท ตั้งแต่พนักงาน ไปจนถึงผู้บริหารและท่านประธานของเรา สุดท้ายนี้ ASAP Project ขอเป็นกำลังใจให้ทายาทในธุรกิจผลิตทุกคนมองหายอดเขาของตัวเองให้พบโดยเร็วนะครับ








bottom of page