top of page
  • Thiti Kunajipimol

มาเข้าใจ "Areas of Digital Transformation" ขององค์กร และทุกประเภทซอฟต์แวร์ที่คุณต้องรู้จัก!

แนะนำทุกประเภทซอฟต์แวร์ที่คุณควรรู้จักหากคิดจะ Transform


หลังจากฟังสื่อต่างๆพูดถึงเรื่อง Digital Transformation มาพอสมควรแล้ว คุณเคยมีความรู้สึกอยากลงมือทำ Transformation กับธุรกิจของตัวเองแต่ไม่รู้จะเริ่มตรงจุดไหนบ้างไหมครับ ในบทความนี้ ASAP Project อยากจะชวนทุกท่านถอยมามองภาพกว้างกันก่อนว่า ธุรกิจของเราสามารถแบ่งส่วนงานต่างๆออกมาเป็น Areas of Digital Transformation อะไรได้บ้างแบบง่ายๆ กันครับ


ก่อนอื่นเพื่อให้เราเข้าใจตรงกันผมขออนุญาตอธิบาย Digital Transformation โดยแบ่งได้เป็น 3 Levels ด้วยกันคือ 1. Operation Level 2. Customer Experience Level 3. Business Model Level ซึ่งในบทความนี้เราจะมาโฟกัสเรื่อง Operation level ซึ่งเป็นพื้นฐานการทำงานในทุกๆธุรกิจกันก่อนครับ


Digital Transformation ใน Operation level นี้ บางคนอาจจะเรียกว่า Digitalization หรือการพลิกรูปแบบงานเดิมๆ ที่เราทำกันแบบ Manual ให้ Automate โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีผลลัพธ์ที่สำคัญสามประเด็นคือ 1. เร็วขึ้น 2. ผิดพลาดลดลง และ 3. วัดผลได้

ภาพรวมของ Areas of Digital Transformation


เอาล่ะครับ เมื่อเราเริ่มเห็นภาพตรงกันมากขึ้นแล้ว เดี๋ยวเราไปดูในทีละ Area กันครับ




1. Customer-Facing (ส่วนงานที่สัมผัสกับลูกค้าโดยตรง)

Area นี้ประกอบไปด้วยส่วนงานที่มีการติดต่อประสานงานกับลูกค้า และต้องการเก็บข้อมูลต่างๆ หรือทำกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับฐานข้อมูลลูกค้า ได้แก่ ส่วนงานขาย การตลาด และบริการ

Sales Automation

ในด้านของการขายเองก็มีหลายรูปแบบเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการขายแบบ Online - Offline หรือ Omni-channel ขายเงินสด หรือ เครดิต


ทั้งหมดนี้เราสามารถที่จะนำ Technology เข้ามาช่วย Automate ให้การทำงานของคุณง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบ E-commerce, POS, Order Management, Sales Force Automation


Marketing Automation

Transformation ในด้านการตลาดน่าจะเป็นหนึ่งใน Area ที่หลายๆท่านคุ้นกันมากที่สุด เพราะพักหลังมานี้คนพูดถึงกันเยอะมากๆ ในการ Centralised ฐานข้อมูลลูกค้าและติดตามสถานะทางการขายอย่าง Sales Pipeline ด้วย CRM หรือ CDP และการสื่อสารกับลูกค้าด้วยเครื่องมืออย่าง Chatbot หรือ E-mail Automation และ Martech อื่นๆ อีกมากมายที่ใช้ในการวัดผลทางการตลาด


After-Sales Service Automation

ในเรื่องบริการหลังการขายก็เป็นอีกจุดสำคัญในการสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า แต่อาจจะยังไม่ค่อยมีคนพูดถึงการทำ Transformation ในส่วนนี้มากนัก


คุณสามารถที่จะเก็บสถิติคำร้องเรียนต่างๆจากลูกค้าว่ามีเข้ามามากน้อยเพียงใด รุนแรงหรือไม่ และควบคุมมาตรฐานการบริการด้วย SLA หรือนโยบายการดูแลลูกค้าอื่นๆ โดยใช้ระบบอย่าง Helpdesk Management เข้ามาดูแล ให้คุณสามารถรองรับและจัดการความต้องการของลูกค้าที่หลั่งไหลมาได้จากทุกๆช่องทาง


2. Core Engine

Area นี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับส่วนงานแกนหลักขององค์กรทั่วไป ซึ่งมีกระบวนการทำงานที่มักจะถูกรองรับด้วยโมดูลย่อยๆอยู่ในซอฟต์แวร์ระบบหลังบ้านอย่างโปรแกรมบัญชี หรือ “ERP” (คุณสามารถอ่านเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ ERP ได้ที่นี่) ในบางธุรกิจนั้น ก็อาจจะมีขั้นตอนการทำงานที่เฉพาะเจาะจง ทำให้อาจจะต้องมองหา a) ERP ที่เฉพาะทาง หรือที่มีขนาดใหญ่ หรือ b) ซอฟต์แวร์เฉพาะทางเพื่อจัดการงานส่วนนั้นๆ โดยใช้ร่วมกันกับระบบหลัก

Procurement

ในธุรกิจบางประเภทที่ต้องมีกระบวนการจัดซื้อที่มีนโยบายกำกับชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการอนุมัติตามวงเงิน ตามประเภทสินค้า หรือแม้กระทั่งการทำประกวดราคา (Vender Tendering Process)


เราสามารถที่จะ Transform Process เหล่านี้ได้ด้วยเครื่องมือประเภท “E-Procurement” ที่จะเข้ามาช่วยกำกับดูแลขั้นตอนการขออนุมัติจัดซื้อทั้งหมด รวมถึงสร้างฐานข้อมูลของคู่ค้า และการเทียบราคากับดีลครั้งก่อนๆในอดีตอีกด้วย


Finance & Accounting

บัญชีการเงินนั้นเป็นพื้นฐานทางธุรกิจและมักจะเป็น Area แรกๆ ที่มีการนำซอฟต์แวร์เข้ามาใช้จัดการ เมื่อธุรกิจของเราเติบโต ความต้องการและความจำเป็นในการพึ่งพาระบบก็เพิ่มพูนไปด้วย


จากการแค่ลงบัญชีเดรดิต-เดบิต เราเริ่มต้องการผังบัญชีที่ Customize ได้ ต้องการระบุรายละเอียดในการลงบัญชีที่ลึกขึ้น ต้องการรายงานอายุหนี้ต่างๆ ที่ละเอียดและ Pivot ไปมาได้ ต้องการเห็นงบกระแสเงินสด เป็นต้น


เราอาจเริ่ม Transform Area นี้ด้วย โปรแกรมบัญชีที่มีขนาดเล็ก-กลาง และเมื่อธุรกิจขยายตัว ก็เริ่มขยับไปใช้เครื่องมืออย่าง ERP เพื่อรองรับฟีเจอร์ที่เพิ่มขึ้นตาม เช่น ต้องการจับต้นทุนตามโปรเจ็คหรือฝ่ายงาน การจัดการต้นทุนนำเข้าสินค้า หรือการค้าขายหลายสกุลเงิน เป็นต้น


หากเลือกเครื่องมือได้พอดีกับความต้องการ นอกจากกระบวนการงานจะเป็นระบบเบียบขึ้นแล้ว เรายังสามารถมองเห็นรายงานวิเคราะห์ได้โดยง่าย ไม่ต้องเสียเวลาและแรงคนในการรวบรวม Excel ช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที


Inventory Management

การบริหารสต็อกเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญธุรกิจไม่แพ้ส่วนของบัญชีการเงิน โดยเฉพาะธุรกิจซื้อมาขายไป (Trading) อาหารและเครื่องดื่ม และผลิต การเลือกระบบที่จะมา Transform Area นี้ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าที่ขายหรือผลิตเป็นหลัก ซึ่งระบบที่ดีจะทำให้เราเห็นต้นทุนที่เกิดจากสินค้าทั้งหลายอย่างชัดเจน ทำให้ยอดกำไรขาดทุนชัดเจนไปด้วย


ระบบบริหารสต็อกมักจะเป็นโมดูลหนึ่งของ ERP หรือบางองค์กรอาจจะมีระบบสำหรับบริหารสต็อกแยกออกมาต่างหาก (แต่ไม่ใช่ Common Practice) ซึ่งจะรองรับตั้งแต่ การบริหารฐานข้อมูลสินค้า การแปลงหน่วยนับของสินค้าที่มีหลายหน่วยกลับไปกลับมาได้ (เช่น ซื้อซอสมาเป็น “ลัง” นับสต็อกเป็น “ขวด” ใช้ปรุงอาหารเป็น “ช้อน”) การควบคุมหมายเลข Lot และ Serial ของสินค้าได้อย่างแม่นยำ การตัดสต๊อควัตถุดิบต่างๆ ตามออเดอร์การขาย การผูกสูตรการผลิต (BOM) เป็นต้น


การ Transform ส่วนงานนี้ด้วยเครื่องมือที่ครอบคลุม จะช่วยให้คุณไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาเดิมๆ อย่างสต็อกไม่ตรง ต้นทุนไม่ชัดเจน ติดตามสินค้าไม่สะดวก และไม่ต้องพึ่งพาตาราง excel มหากาพย์ของคุณอีกต่อไป


3. Advance Manufacturing

การบริหารจัดการผลิตด้วยงานกระดาษ หรือ Excel ในธุรกิจผลิตที่มีขนาดใหญ่ หรือความซับซ้อนสูงนั้น เป็นเรื่องที่ต้องใช้ทีมงานที่ทุ่มทั้งแรงกายแรงใจสูงมากๆในการทำงาน จะดีกว่าไหม ถ้าคุณลองมองหาเครื่องมือเหล่านี้เข้ามาช่วยจัดการ

Production Management

ในการผลิตสินค้าต่างๆนั้น มักจะมีรายละเอียดของสูตรการผลิต วัตถุดิบ กระบวนการผลิต และ Cost Center ที่ซับซ้อน


คุณอาจเคยใช้เวลาในการวางแผนการผลิตบน excel ของคุณเป็นชั่วโมงๆ แต่แล้วก็มี order ใหม่แทรกเข้ามากระทันหันทำให้คุณต้องใช้เวลาอีกหลายชั่วโมงในการรื้อแผนทุกอย่างใหม่ใช่ไหมครับ “MRP” (Material Requirement Planning) คือเครื่องมือเบื้องต้นอย่างแรกที่จะเข้ามาช่วยให้คุณบริหารจัดการในเรื่องนี้ โดยเฉพาะการวางแผนวัตถุดิบ ให้เพียงพอต่อการผลิต ทำหน้าที่ตัดและจองวัตถุดิบ และทำการสั่งซื้อวัตถุดิบที่ไม่มีในคลัง ทำให้มองเห็นต้นทุนการผลิตเบื้องต้น และระยะเวลาคร่าวๆ ที่จะใช้ (ขึ้นอยู่กับขอบเขตของซอฟต์แวร์แต่ละแบรนด์ด้วย)


แต่ถ้าคุณต้องการจะลงรายละเอียดและวางแผนว่าออเดอร์ใดจะเริ่มผลิตและผลิตเสร็จเมื่อใด โดยใช้เครื่องจักรตัวไหนบ้าง ผลิตอะไรก่อนหลัง และจับต้นทุนเพิ่มเติมทั้งในส่วนของเครื่องจักรและแรงงานที่ Exact มากขึ้นนั้น ก็ควรจะเริ่มมองหาเครื่องมืออย่าง “APS” (Advance Planning & Scheduling) และ “MES” (Manufacturing Execution System) เพื่อจัดการเครื่องจักรโดยเฉพาะ ควบคู่กันไปด้วยครับ


Warehouse Management

เมื่อธุรกิจของคุณโตขึ้น คลังสินค้าของคุณก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นไปด้วย ปัญหาการจัดเก็บ แพ็ค และหยิบสินค้าออกให้ตรงตาม Lot และตามออเดอร์ ก็คงจะเป็นสิ่งที่น่าปวดหัวอยู่ไม่น้อยหากปราศจากการบริหารจัดการที่ดี


“WMS” หรือ Warehouse Management System คือเครื่องมือที่จะช่วยคุณให้สามารถรับและเบิกสินค้าได้อย่างแม่นยำ และยังบอก Location ที่คุณเก็บสินค้านั้นๆ ว่าอยู่ที่คลังไหน โซนไหน ชั้นไหน ได้ในระดับ Detail อีกด้วย ซอฟต์แวร์บางตัวอาจมาพร้อมระบบเครื่องยิง Barcode และ QR Code ให้เราทำงานได้รวดเร็วแม่นยำขึ้นด้วยครับ


Fleet/Transportation Management

หากคุณทำธุรกิจที่มีหน่วยขนส่งสินค้าเป็นของตนเอง หรืออาจจะ Outsource และต้องการบริหาร ติดตาม และ Optimize ประสิทธิภาพ เครื่องมือที่คุณต้องการคือ “Fleet Management หรือ TMS” (Transportation Management System) ซึ่งจะช่วยให้คุณบริหารจัดการการขนส่งสินค้าของคุณได้ดีขึ้นทั้งการวางแผนเส้นทางที่วิ่งจัดส่งให้ครอบคลุมจุดหมายสูงสุดและประหยัดที่สุด การติดตามสถานะพัสดุต่างๆ ว่าส่งถึงมือลูกค้าแล้วหรือยัง การติดตามคุณภาพการขับรถของคนขับ และอาจรวมถึงการบริหารจัดการซ่อมบำรุงกลุ่มพาหนะขนส่งของเราอีกด้วย


4. Office Work Automation

ไม่ใช่งานทุกส่วนที่จะสามารถใช้ระบบหลักที่กล่าวมาข้างต้นรองรับได้ งาน Day-to-day ที่เราทำกันในบางองค์กรก็มีปริมาณและขั้นตอนที่สามารถ Transform ได้ด้วยเช่นกัน

Project Management & Collaboration

การทำงานในลักษณะของ “โปรเจ็ค” นั้น หากจัดการเพียงแค่โปรเจ็คเดียวก็อาจจะฟังดูไม่ใช่เรื่องยาก แต่การทำพร้อมๆกันหลายๆโปรเจ็คแล้วล่ะก็จะต่างออกไปโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เรากำลัง Work from home


เครื่องมือประเภท “Project Management” เช่น Trello, Asana, Monday.com, ClickUp และเครื่องมือ “Collaboration” เช่น Line, Skype, Team, Facebook Workplace จึงก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายๆบริษัท เพราะมันจะช่วยให้ทุกๆคนในโปรเจ็คมองเห็นรายละเอียดของงานได้ตรงกัน และติดตามความคืบหน้าได้อย่างแม่นยำ ส่วนหัวหน้าทีมก็จะสามารถบริหารและกระจายงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยครับ


Workflow Automation

ในบางองค์กรใหญ่ อาจะมีระเบียบการที่ซับซ้อนหลายขั้นตอนสำหรับกระบวนงานหนึ่งๆ ซึ่งทำให้การส่งต่อเอกสารตามขั้นตอนและการอนุมัติด้วยวิธีการแบบ Manual (กล่าวคือ อาจจะใช้กระดาษ ใช้ Excel ปริ้นฟอร์ม ส่งอีเมล โทรติดตามฯ) นั้นใช้เวลานานมาก และอาจเกิดเอกสารสูญหายระหว่างทาง


เครื่องมือประเภท “Workflow Management” หรือ “Business Process Management” จึงถูกนำมาใช้เพื่อทำให้ Flow เอกสารทั้งหมดและการอนุมัติอยู่ในรูปแบบ Digital ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถประหยัดเวลาไปได้มหาศาล และยังเรียกดูสถิติจากรายงานได้อีกด้วยครับ


BI หรือ Business Intelligence

เป็นเครื่องมือที่ถูกพูดถึงเยอะมากๆในช่วงหลังมานี้ BI จะช่วยให้คุณสามารถรวบรวม Data จากหลายๆแหล่ง หลายๆซอฟต์แวร์มาแสดงผลร่วมกันได้ในที่เดียว ซึ่งนับเป็นความฝันของผู้บริหารหลายๆท่าน แต่การจะได้มาซึ่ง Dashboard ที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องผ่านการวางแผน คิด วิเคราะห์ และตั้งคำถาม เป็นอย่างดีเพราะคุณกำลังพูดถึงการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากจากทุกๆช่องทางของบริษัท


5. HR Management

เป็นอีก Area หนึ่งทีการทำ Transformation จะช่วยคุณสามารถบริหารจัดการได้มีประสิทธิภาพขึ้นมาก (คุณสามารถอ่านเกี่ยวกับ HR Transformation เต็มๆได้ที่นี่) เราสามารถแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆได้อีกดังนี้

HR Management

“ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล หรือ HRM” น่าจะเป็นซอฟต์แวร์ที่ทุกๆ องค์กรน่าจะมีใช้กันอยู่แล้วเป็นพื้นฐาน เพราะมันครอบคลุมการบริหารจัดการการขาดลามาสาย การคำนวณค่าตอบแทนของพนักงาน การจัดตารางกะงาน และการออกเอกสารต่างๆ [อ่านเพิ่มเติมได้เลย]


ในบางประเภทธุรกิจอาจมีนโยบายการให้ค่าตอบแทนที่ซับซ้อน ก็อาจจะต้องใช้ซอฟต์แวร์ HRM ที่ขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อย แต่จะช่วยลดเวลาทำงานของ HR และการสรุปตัวเลขเงินเดือนไปได้มากเลยทีเดียว


HR Development

หรือส่วนงานที่โฟกัสในการพัฒนาศักยภาพและวัดผลประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ความละเอียดอ่อน และทรัพยากรในการจัดการไม่น้อยทีเดียว [อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่]


เครื่องมือที่เข้ามามีบทบาทนั้น มีหลายตัวด้วยกัน ซึ่งอาจจะขายรวมกันอยู่เป็นระบบ HRD ที่เชื่อมต่อกับระบบ HRM ในบางแบรนด์ หรือจะเป็นซอฟต์แวร์ที่ขายแยกออกมาเฉพาะทางอย่างระบบ “LMS” หรือ Learning Management System ซึ่งจะช่วยให้คุณสร้างคอร์ส และจัดอบรมให้กับพนักงานได้อย่างเป็นระบบ หรือระบบ “PMS หรือ Performance Management System” ที่ทำหน้าที่ตั้งตัวชี้วัดของส่วนงานต่างๆ ในองค์กร สร้างเกณฑ์การประเมินผลของงานและคน และ Automate ระบบวัดผลงานทั้งหมดในองค์กร บางซอฟต์แวร์อาจจะมีในส่วนของการทำ Climate Survey เพื่อวัดความรู้สึกโดยรวมของพนักงานในองค์กรอีกด้วย


หากมีเครื่องมือเหล่านี้เข้ามาช่วยในขณะที่ขนาดขององค์กรเหมาะสม ก็จะช่วยให้คุณเห็นภาพและมีข้อมูลเพียงพอที่จะพัฒนาศักยภาพของทีมงานของคุณได้ดียิ่งขึ้น


Recruitment

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า การได้คนที่เหมาะสมมาร่วมงานเป็นหนึ่งในงานที่เราควรให้ความสำคัญที่สุด และบ่อยครั้งที่การดีลกับผู้สมัครหลายๆ คนในหลายๆ ตำแหน่งก็ยากพอๆ กัน หรือคล้ายกับการที่ฝ่ายขายต้องดีลกับลูกค้าจากหลายๆ องค์กร [อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่]


ระบบ “Applicant Tracking System หรือ ATS” จะช่วยให้งานของฝ่าย Recruitment สบายขึ้น ครอบคลุมการสร้างช่องทางการสมัครออนไลน์ให้กับผู้สมัคร ซึ่งนอกจากจะสะดวกแล้ว ยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร อีกทั้งคุณยังสามารถติดตาม Recruitment Pipeline ว่าสถานะการรับสมัครของผู้สมัครแต่ละตำแหน่งงานนั้นเป็นอย่างไรบ้าง (คล้ายกับที่ฝ่ายขายติดตามสถานะลูกค้าใน Sales Pipeline) นำข้อมูลมาออกรายงานและแดชบอร์ดเพื่อเตรียมให้ผู้บริหารทราบได้ทันที และยังสามารถเก็บสะสมเป็นฐานข้อมูลผู้สมัครเอาไว้สำรองในอนาคตได้อีกด้วย


ซอฟต์แวร์ Recruitment บางแบรนด์ อาจจะครอบคลุมไปถึงส่วนของการทำ Employee Onboarding หลังจากรับเข้าบริษัทแล้วอีกด้วย เพื่อ Automate ขั้นตอนการทำงานภายใน เช่น สินทรัพย์ที่ต้องส่งมอบ Orientation Session ที่ต้องจัด หรือการพาทัวร์ออฟฟิศ เป็นต้น ทำให้คนภายในองค์กรรู้ว่าจะต้องช่วยดูแลพนักงานใหม่ในเรื่องใดและเมื่อใด


6. Digital Transformation สำหรับธุรกิจเฉพาะทาง

ที่เราอธิบายทุกท่านมาข้างต้นนี้ เป็น Area ที่ธุรกิจส่วนใหญ่สามารถทำ Digital Transformation ได้ แต่สำหรับธุรกิจเฉพาะทางนั้น บางทีเครื่องมือที่เรากล่าวมาก็อาจจะยังรองรับไม่ได้ 100% เพราะขั้นตอนงานและความต้องการแตกต่างออกไปค่อนข้างมาก


ธุรกิจเฉพาะทางเหล่านี้ อาจเลือกที่จะใช้เครื่องมือข้างต้นและ Customize เพื่อให้รองรับ แต่ในบางกรณี เราอยากแนะนำให้มองหาเครื่องมือเฉพาะธุรกิจไปเลย ซึ่งก็มีอยู่ในตลาด


ตัวอย่าง เช่น ธุรกิจทองคำและอัญมณีที่ต้องจัดการกับมูลค่าทองที่ผันผวนและต้นทุนการผลิตที่มีรายละเอียดมากมาย ธุรกิจท่องเที่ยวที่มีการพิจารณาต้นทุนค่านำทัวร์และการฝากขาย Package การท่องเที่ยวที่ซับซ้อน ธุรกิจโรงแรมที่ต้องมีการเปิดจองห้องพักต่างๆพร้อมราคาตามฤดูการท่องเที่ยว

ธุรกิจก่อสร้างที่ต้องใช้ความชำนาญในการประเมินต้นทุนราคาตาม BOQ และการบริหารโครงการ

และธุรกิจเฉพาะทางอื่นๆอีกมากมาย ที่ต่างก็มีความพิเศษในแบบของตัวเอง


ทั้งนี้ ASAP Project ขอยืนยันว่า คุณไม่จำเป็นต้องทนทำงานแบบ Manual ไปตลอด เพราะทางออกด้วยการมองหา Software Solution ที่เหมาะสมนั้นเป็นไปได้เสมอครับ


มาดูภาพสรุปประเภทซอฟต์แวร์ในแต่ละ Area

ทุกท่านคงได้เห็นแล้วว่าในแต่ละ Area เราสามารถทำ Digital Transformation ได้ด้วยเครื่องมือหลากหลายประเภทมาก ภาพนี้น่าจะทำให้ทุกท่านได้เห็นตัวอย่างประเภทซอฟต์แวร์ที่เป็นพื้นฐานและน่าจะได้พบเห็นกันแน่นอนในระหว่างขั้นตอนการทำ Transformation



เอาล่ะครับ ต้องขอบคุณมากๆที่ทุกท่านอ่านมาถึงจุดนี้ แม้ว่าบทความนี้อาจยาวสักหน่อยแต่ผมคิดว่าทุกท่านคงพอจะเห็นภาพกว้างของ Area ต่างๆในการทำธุรกิจที่สามารถใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆเข้ามาปรับจากการทำงานแบบ Manual ให้เป็น Digital ได้ชัดเจนมากขึ้น และผมหวังว่าว่าบทความนี้น่าจะพอเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆให้คุณได้คิดต่อไปว่าในธุรกิจของคุณเองนั้นมี Area ใดที่สามารถทำ Transformation ได้บ้างนะครับ


หากท่านใดยังรู้สึกว่าเริ่มต้นไม่ถูกกับการเริ่ม Transform องค์กรของตนเอง ทักพวกเรามาได้เลยผ่านแชทหรืออีเมลมาคุยกับเราได้เลยที่ hello@asapproject.co เรายินดีให้คำปรึกษาทุกท่านครับ


bottom of page