Thiti Kunajipimol

Dec 8, 20212 min

อัพเดท Startup และ แอพพลิเคชั่น ล่าสุดในงาน Techsauce 2019!

เราเชื่อว่าหลายๆคนที่ได้ไปงาน Techsauce Global Summitb 2019 กันในสัปดาห์ที่ผ่านมา และคงประทับใจกันไม่น้อยกับ Startup และ Tech company ใหม่ๆ ที่มาออกบูธกันอย่างหนาแน่นกว่าปีที่แล้ว Speaker ในปีนี้ก็มีหัวข้อที่น่าสนใจ นำเสนอมุมมองที่แตกต่างออกไปจากปีที่แล้ว และที่สำคัญ ยังได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีกระทรวงดิจิตอลจากไต้หวันอย่างคุณ Audrey Tang ที่พูดถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยในการมีปฏิสัมพันธ์กับประชาชนอีกด้วย
 

ส่วนคนที่พลาดงานในปี 2019 ไป ในบทความนี้ ASAP Project จะมาเล่าถึงStartup ที่น่าสนใจในกลุ่มต่างๆ มาให้ทุกคนรู้จักกัน!

กลุ่ม Startup สำหรับผู้บริโภคทั่วไป

Chargespot

ทุกคนคงจะเดินผ่านบูธที่มี standing สีขาว หน้าจอสีฟ้าโดดเด่นกันแน่นอน Chargespot ให้บริการยืม powerbank ขนาดพกพา (5000 แอมพ์) ในจุดให้บริการต่างๆ ทั่วกรุงเทพ โดยจับมือกับเจ้าของสถานที่ Charge spot ที่ดีไซน์มาพร้อมกับหน้าจอ Display ก็พร้อมจะไปตั้งให้ฟรีและอนุญาตให้เจ้าของสถานที่ทำ Digital ads บนหน้าจอโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
 

ส่วนมุมมองของผู้บริโภคอย่างเราๆนั้น ค่ายืม powerbank ก็แค่ 15 บาท/ชั่วโมง หรือ 45 บาท/วัน เพียงดาวน์โหลดแอพ มาที่แท่นชาร์จ ณ จุดต่างๆ จ่ายเงินและ Unlock Powerbank ไปใช้กันได้เลย เมื่อหมดเวลาก็เอามาชาร์จคืนที่จุดบริการที่ไหนก็ได้โดยสามารถหาได้บนแอพพลิเคชั่น Chargespotเองถูกก่อตั้งโดยบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น และประสบความสำเร็จอย่างมากในไต้หวัน โดยถือว่าเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในเมืองไปโดยสิ้นเชิง เพราะตอนนี้ไม่มีใครพก Powerbank ส่วนตัวไปไหนมาไหนกันแล้ว
 

FinGas

Startup ที่สนใจเรื่องที่หลายคนอาจมองข้ามอย่าง Fingas ในค่าย dtac accelerate หยิบยกประเด็นเรื่องการสั่งแก็สขึ้นมาแก้ปัญหาได้อย่างน่าสนใจ Fingas จะทำตัวเป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงระหว่างลูกค้าที่ต้องการสั่งแก็สขนาดต่างๆกับผู้ขาย ให้เข้าถึงกันได้ง่ายขึ้นเร็วขึ้น

สำหรับผู้ขายนั้นทางแพลตฟอร์มจะมีทั้ง POS และ แอพมือถือสำหรับผู้ส่งแก๊ซ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการการทำงานหลังบ้านเพื่อทดแทนการทำงานแบบ manual

ส่วนทางลูกค้าก็สามารถเลือกร้าน ยี่ห้อ และขนาดของถังที่ต้องการได้อย่างสะดวก แถมยังมีการเก็บสะสมแต้มไปด้วยในตัว

ไปลองใช้กันเลยวันนี้ ไม่ต้องกลัวแก็สหมด!
 

Or’ease
 

พอเดินผ่านบูธนี้ก็อดหันไปสะกิดเพื่อนข้างๆ ไม่ได้ทีเดียว เพราะ Or’ease ให้เราเรียกผู้ให้บริการนวด เทอราปิสผู้ชำนาญ มานวดให้กับเราถึงที่ หรือ “Massage on demand” ไม่ว่าจะจองสำหรับคนเดียวหรือหลายคนก็สามารถทำได้ เรทราคาง่ายๆ 600 บาท/60 นาที และ1,200 บาท/120 นาที ซึ่งใกล้เคียงกันกับการไปใช้บริการร้านนวดเจ้าดัง เพียงแต่ไม่ต้องเดินทางเปิดแอร์เย็นฉ่ำนอนรอดูหนังอยู่ที่บ้านได้สบายๆ

Tellscore
 

อีกหนึ่ง Startup ที่น่าสนใจ โดยคว้ารางวัล Best User Experience จากเวทีอย่าง W3 Award Silver Winner 2017 จากอเมริกามาแล้ว Tellscore เป็นแพลตฟอร์มที่เอื้อให้การทำการตลาดโดยใช้ Influencer หรือ KOL ง่ายขึ้นอีก โดยเจ้าของแบรนด์สามารถเข้าถึงและทำงานร่วมกับ Influencer ได้โดยตรง มีประสิทธิภาพ และโปร่งใส โดยจะแยกกลุ่มของ Influencer ออกตามหมวดของสินค้าบริการ เช่น อาหาร เทคโนโลยี การเงิน แฟชั่น ท่องเที่ยวฯ ทำให้สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ตรงขึ้น

เจ้าของแบรนด์สามารถเลือกสร้างแคมเปญได้ 3 ประเภท คือการแชร์คอนเท้นท์ เขียนรีวิวและถ่ายภาพ และทำวิดิโอรีวิว โดยกำหนดให้แสดงผลเรียงตาม Influencer ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ทีละคน หรือ หลายๆ คนก็ได้ ที่สำคัญ ยังมีระบบหลังบ้านที่ช่วยเจ้าของแบรนด์จัดตารางการส่งงาน และประเมินผลลัพธ์ของแต่ละแคมเปญได้อีกด้วย
 

Dipp
 

Startup สัญชาติไต้หวันที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของ Techsauce Final Pitching

Dipp เป็นเครื่องมือช่วยสร้างภาพกราฟฟิกต่างๆ แบบอัตโนมัติ ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็น Canva ในเวอร์ชั่นที่เป็นอัตโนมัติขึ้น เพราะมีการใช้ Ai ช่วยประมวลผลด้วย

เพียงอัพโหลดภาพ โลโก้ เลือกประเภทธุรกิจ เลือกกลุ่มเป้าหมาย ใส่ Caption และระบบจะไปดึงเอา Big data มาประมวลผลให้ว่าองค์ประกอบของภาพ graphic ควรจะเป็นอย่างไร ใช้สีและฟ้อนแบบไหน วางที่ไหน ส่วนเรื่องการ Localised ให้เข้ากับภาษาไทยนั้น ASAP Project แอบไปถามว่า แล้วได้ความว่าสามารถใช้ฟ้อนที่ Googleใช้อยู่ได้ หรือจะอัพโหลดฟ้อนเองก็ได้เช่นกัน น่าลองใช้สุดๆไปเลยใช่ไหมล่ะ

ส่วนในเรื่องของค่าใช้บริการนั้นจะคิดเป็นเครดิต โดยต้องเติมเงินเอาไว้ก่อน และเมื่อทำภาพเสร็จแล้ว จึงค่อยเลือกซื้อเท่าที่ต้องการใช้ ระบบจะตัดเครดิตตามจริง ซึ่งเท่าที่ได้ลองคำนวณด้วยกันคร่าวๆแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 60 บาท ต่อ 25 ภาพ (รูปแบบเดียวกันแต่คนละขนาดจะถือเป็นคนละภาพ)

กลุ่ม Ai Chatbot

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเห็น Ai Chatbot เป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงจริงๆเพราะในปีนี้มี 3 รายที่เราไปเยี่ยมที่บูธและคิดว่าน่าสนใจทีเดียว
 

ConvoLab
 

เครื่องมือตัวนี้เสนอการแก้ปัญหาช่องทางแชทที่กระจัดกระจาย ด้วย ai ที่สามารถเรียนรู้บทสนทนากับลูกค้าและตอบโต้ได้ตามที่เราสอน โดยมี backend ให้เราเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่อการสนทนาของ Ai

เราสามารถใช้ ConvoLab ในการเสนอขายสินค้าบริการ คุยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ทำการจอง หรือประเมิน survey ต่างๆ ทำให้ลูกค้าได้รับการตอบสนองที่ทันท่วงที
 

Deeple
 

อีกหนึ่ง chatbot ที่เชื่อมต่อกับ Line ได้ ซึ่งคุณสามาระเริ่มต้นใช้ได้อย่างง่ายๆ เพียงแค่สมัคร ทำการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม และ อัพโหลดข้อมูลสินค้าหรือบริการต่างๆ ขึ้นไป เพียงเท่านี้ก็สามารถเริ่มใช้ขายสินค้ากับลูกค้าแบบอัตโนมัติได้เลย!


 
Zwiz.ai

Startup รายนี้ได้ขึ้น Pitching เวทีสุดท้ายเป็นตัวแทนจากประเทศไทย แชทบอทฟรีสำหรับ SME ใช้ง่ายแถม cross-platform ได้ทั้ง Facebook และ Line! ทำหน้าที่ตอบคำถามและคอมเม้นกลับลูกค้าอัตโนมัติด้วย Ai มีทั้งโซลูชั่นที่เหมาะกับ SME และลูกค้าองค์กร สบายๆแบบไม่ต้องลงแรงแบบนี้ ลองใช้งานกันได้เลย!

กลุ่ม Chatbot ที่เก่ียวกับ HR

Eko
 

แพลตฟอร์มแชทภายในองค์กรที่เห็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดตลอดหลายปีที่ผ่านมา ปีนี้กลับมาอีกครั้ง พร้อมฟีเจอร์ที่ครบพร้อมกว่าเดิม นอกจากการส่งข้อความสื่อสารหากันในองค์กรแบบแยกย่อยได้แล้ว ยังสามารถโทรแบบ voice หรือ video call ทำBroadcasting ตั้งworkflow automation บริหารจัดการองค์ความรู้ในองค์กร สร้างระบบรางวัลและผลตอบแทน ระบบติดตามงาน จัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากรในบริษัท และยังเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆได้อีกด้วย ราคาเริ่มต้นที่ $1.5/user/เดือน

Elabram
 

Elabram เป็นแพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการ Time attendance สำหรับทีมที่ต้องการความยืดหยุ่นในการเข้าออกงาน โดยจุดเด่นคือสามารถ clock-in/out ได้หลายรอบต่อวัน ในหลายๆสถานที่ ด้วย Technology geofencing โดยสามารถถ่ายรูปสถานที่ที่อยู่เพื่อยืนยันได้อีกด้วย บริหารเรื่องเวลา OT หรือเคลมค่าใช้จ่ายต่างๆ เชื่อมต่อได้กับระบบแสกนนิ้วหรือใบหน้าที่มีอยู่ แถมปลายเดือนก็มีรายงานวิเคราะห์ให้ดูได้เลย

Elabram ประสบความสำเร็จมาแล้วที่อินโดนิเซีย และ มาเลเซีย โดยยังมีโมดูลอื่นๆ เพิ่มเติมอีกแต่น่าเสียดายที่ยังไม่ได้นำเข้ามาเปิดตลาดในไทย


 
OneDee
 

เป็นอีกหนึ่งซอฟต์แวร์ที่เราเห็นตั้งแต่ปีที่แล้ว ปีนี้ OneDee นำเอา chatbot ที่มี Ai มาช่วยทำหน้าที่เสมือนเป็น HR assistant ของพนักงาน ช่วยตอบคำถาม รับคำสั่ง ขออนุมัติลาต่างๆ โดยไม่ต้องกดบันทึกในฟอร์มอีกต่อไป OneDee จะทำให้การจัดการเรื่องที่เกี่ยวกับ HR ให้เป็นเรื่องที่ง่าย สนุก และไร้ซึ่งความกดดันสำหรับพนักงาน

Humantix
 

คล้ายๆ กับที่เราแนะนำไปแล้วข้างต้น Humantix ก็เป็นแพลตฟอร์ม HR ที่มี Ai chatbot พูดคุยคอยช่วยเหลือพนักงานในองค์กร แต่นอกเหนือจากนั้น ยังช่วยให้คนในองค์กรมีปฏิสัมพันธ์กันผ่านแพลตฟอร์มนี้ ในการจองทรัพยากรส่วนกลาง ดูทะเบียนรายชื่อพนักงาน เข้าถึงข้อมูลภายในและภายนอกที่กำหนดให้ ใช้ Smart QR code ในการ interact กับสิ่งต่างๆใน office และเชื่อมต่อกับ Office 365 ได้

เป็นยังไงกันบ้าง กับ Startup และแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่เราเอามาฝากกันจาก Techsauce Global Summit 2019! ลองเข้าไปลองใช้กันดูแล้วบอกเราว่าตัวไหนที่เวิร์คสำหรับคุณ!