ธุรกิจต้องปรับตัวอย่างไรในโลกการค้าที่ Tariff ไม่นิ่ง ด้วยกลยุทธ์จาก McKinsey

ท่ามกลางความผันผวนของนโยบายภาษีการค้าระหว่างประเทศ ธุรกิจจะปรับตัวและสร้างความได้เปรียบได้อย่างไร? บทความนี้สรุป 3 แนวคิดสำคัญจาก McKinsey เพื่อช่วยผู้บริหารกำหนดทิศทางธุรกิจในโลกที่ภาษีไม่แน่นอน

TYPE

Thoughts

3 ขั้นตอนวิเคราะห์กลยุทธ์

ในช่วงต้นเดือนเมษายน 2025 สหรัฐอเมริกาปรับขึ้นภาษีนำเข้าแบบก้าวกระโดดจาก 2% เป็น 20% ภายในไม่กี่วัน หลายประเทศโต้กลับด้วยมาตรการทางการค้าใหม่ที่รุนแรง และธุรกิจที่ไม่วางแผนรับมืออาจเสียเปรียบอย่างรุนแรง

วันนี้เราสรุปบทความจาก McKinsey ที่นำเสนอ 3 ขั้นตอนเพื่อช่วยผู้บริหารตัดสินใจทิศทางของธุรกิจในตลาดโลกปัจจุบันที่ภาษีมีความผันผวนสูง

📖 อ่านบทความเต็ม (ภาษาอังกฤษ)

1️⃣ วิเคราะห์จุดยืนของธุรกิจ (Relative Positioning)

McKinsey แนะนำให้ธุรกิจประเมินตนเองจากสองมุมมอง:

1. ความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน (Y-Axis)
→ คุณได้รับผลกระทบจากภาษีนำเข้าแค่ไหน เมื่อเทียบกับคู่แข่ง?
→ คุณสามารถรักษากำไร หรือควบคุมต้นทุนได้ดีกว่าหรือไม่?

2. ความต้องการของลูกค้า (X-Axis)
→ ตลาดของคุณยังโตอยู่หรือหดตัว?
→ ลูกค้าพร้อมรับราคาที่สูงขึ้นหรือไม่?

ลองดูภาพด้านล่าง (หรือใช้ framework นี้) แล้วประเมินว่า “คุณอยู่ใน Quadrant ไหน?”


ลองถามคำถามเหล่านี้กับตัวเองดูครับ

🔹 เปรียบเทียบต้นทุน-กำไรของคุณกับคู่แข่งในตลาดว่าเป็นอย่างไร

🔹 วิเคราะห์ว่าคุณยังสามารถรักษาราคาและ Margin ได้หรือไม่

🔹 พิจารณาว่าสินค้าของคุณมีโอกาสถูกแทนที่ได้ง่ายขึ้นหรือไม่

🔹 ช่องทางนำเข้า-ส่งออกของคุณได้รับผลกระทบหรือไม่

🔹 ลูกค้าจะยังซื้อสินค้าของคุณอยู่หรือไม่ ถ้าต้องปรับราคาขึ้น?

🔹 ตลาดหลักๆ ของคุณอยู่ในเส้นทางการค้าที่กำลังเติบโตหรือหดตัว?


1️⃣ วิเคราะห์จุดยืนของธุรกิจ (Relative Positioning)

McKinsey แนะนำให้ธุรกิจประเมินตนเองจากสองมุมมอง:

1. ความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน (Y-Axis)
→ คุณได้รับผลกระทบจากภาษีนำเข้าแค่ไหน เมื่อเทียบกับคู่แข่ง?
→ คุณสามารถรักษากำไร หรือควบคุมต้นทุนได้ดีกว่าหรือไม่?

2. ความต้องการของลูกค้า (X-Axis)
→ ตลาดของคุณยังโตอยู่หรือหดตัว?
→ ลูกค้าพร้อมรับราคาที่สูงขึ้นหรือไม่?

ลองดูภาพด้านล่าง (หรือใช้ framework นี้) แล้วประเมินว่า “คุณอยู่ใน Quadrant ไหน?”


ลองถามคำถามเหล่านี้กับตัวเองดูครับ

🔹 เปรียบเทียบต้นทุน-กำไรของคุณกับคู่แข่งในตลาดว่าเป็นอย่างไร

🔹 วิเคราะห์ว่าคุณยังสามารถรักษาราคาและ Margin ได้หรือไม่

🔹 พิจารณาว่าสินค้าของคุณมีโอกาสถูกแทนที่ได้ง่ายขึ้นหรือไม่

🔹 ช่องทางนำเข้า-ส่งออกของคุณได้รับผลกระทบหรือไม่

🔹 ลูกค้าจะยังซื้อสินค้าของคุณอยู่หรือไม่ ถ้าต้องปรับราคาขึ้น?

🔹 ตลาดหลักๆ ของคุณอยู่ในเส้นทางการค้าที่กำลังเติบโตหรือหดตัว?


2️⃣ กำหนดกลยุทธ์จากจุดยืน (Strategic Posture)

McKinsey นำเสนอ 4 กลยุทธ์หลักโดยดูจากจุดยืนของคุณ

🔸 ได้เปรียบชัดเจน มีดีมานด์ต่อเนื่อง → บุกตลาดและเร่งลงทุน

หากคุณอยู่ใน Quadrant ขวาบน คือ ไม่ได้รับผลกระทบทางลบจากการขึ้นภาษี และตลาดกำลังเติบโต และไม่ไหวตัวกับราคามากนัก ควรเร่งลงทุนเพื่อการเติบโต

🔸 แข่งได้ดีแต่ดีมานด์ตก → เน้นรักษาฐานลูกค้า

หากคุณอยู่ใน Quadrant ซ้ายบน คือไม่ได้รับผลกระทบทางลบจากการขึ้นภาษีมากนัก แต่ตลาดกำลังหดตัวหรือมีความไหวตัวด้านราคาสูง ควรที่จะรีบกินส่วนแบ่งตลาด และพยายามยึด Margin เอาไว้

🔸 คู่แข่งได้เปรียบ แต่ยังขายดี → ปรับโครงสร้างต้นทุน

หากคุณอยู่ใน Quadrant ขวาล่าง คือ ได้รับผลกระทบทางลบจากการขึ้นภาษี ราคาสู้คู่แข่งยาก และตลาดยังเติบโตดีอยู่ ควรจะปรับโครงสร้างต้นทุนภายใน เพื่อให้แข่งขันได้

🔸 กระทบทั้งต้นทุนและดีมานด์ ต้องปรับตัวมาก → ลดขนาดและโฟกัสใหม่

หากคุณอยู่ใน Quadrant ซ้ายล่าง คือ ได้รับผลกระทบทางลบแน่นอน และตลาดก็กำลังหดตัว ควรจะกลับมาตั้งต้นวางแผนกันใหม่ อาจจะต้องลดขนาดองค์กร หรือหาตลาดที่จะโฟกัสใหม่


2️⃣ กำหนดกลยุทธ์จากจุดยืน (Strategic Posture)

McKinsey นำเสนอ 4 กลยุทธ์หลักโดยดูจากจุดยืนของคุณ

🔸 ได้เปรียบชัดเจน มีดีมานด์ต่อเนื่อง → บุกตลาดและเร่งลงทุน

หากคุณอยู่ใน Quadrant ขวาบน คือ ไม่ได้รับผลกระทบทางลบจากการขึ้นภาษี และตลาดกำลังเติบโต และไม่ไหวตัวกับราคามากนัก ควรเร่งลงทุนเพื่อการเติบโต

🔸 แข่งได้ดีแต่ดีมานด์ตก → เน้นรักษาฐานลูกค้า

หากคุณอยู่ใน Quadrant ซ้ายบน คือไม่ได้รับผลกระทบทางลบจากการขึ้นภาษีมากนัก แต่ตลาดกำลังหดตัวหรือมีความไหวตัวด้านราคาสูง ควรที่จะรีบกินส่วนแบ่งตลาด และพยายามยึด Margin เอาไว้

🔸 คู่แข่งได้เปรียบ แต่ยังขายดี → ปรับโครงสร้างต้นทุน

หากคุณอยู่ใน Quadrant ขวาล่าง คือ ได้รับผลกระทบทางลบจากการขึ้นภาษี ราคาสู้คู่แข่งยาก และตลาดยังเติบโตดีอยู่ ควรจะปรับโครงสร้างต้นทุนภายใน เพื่อให้แข่งขันได้

🔸 กระทบทั้งต้นทุนและดีมานด์ ต้องปรับตัวมาก → ลดขนาดและโฟกัสใหม่

หากคุณอยู่ใน Quadrant ซ้ายล่าง คือ ได้รับผลกระทบทางลบแน่นอน และตลาดก็กำลังหดตัว ควรจะกลับมาตั้งต้นวางแผนกันใหม่ อาจจะต้องลดขนาดองค์กร หรือหาตลาดที่จะโฟกัสใหม่


3️⃣ ตัดสินใจด้วย Pressure-Test ผ่าน “ความไม่แน่นอน”

คำถามที่ต้องตอบก่อนจะตัดสินใจ:

✔️ สินค้าหรือตลาดไหนที่ยังมีความมั่นคงในหลายสถานการณ์ข้างต้น?
✔️ อะไรคือจุดเปลี่ยน (break point) ที่จะตัดสินใจเปลี่ยนแปลงด้ามกลยุทธ์ข้างต้น หรือ ลดขนาดธุรกิจ?
✔️ การตัดสินใจไม่ทำอะไรเลย จะมีความเสี่ยงกว่าการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงหรือไม่?

ในโลกที่การค้าระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลงเร็ว
สิ่งที่ธุรกิจควรทำไม่ใช่การ "รอให้ทุกอย่างแน่นอน"
แต่คือการเตรียมหลายทางเลือก และกำหนด "เงื่อนไขที่ชัดเจน" สำหรับการลงมือ เช่น:

  • ถ้า Tariff เกิน XX% จะย้ายโรงงานหรือไม่?

  • ถ้าตลาด A หดตัว จะชะลอการลงทุนหรือหาตลาดใหม่?

3️⃣ ตัดสินใจด้วย Pressure-Test ผ่าน “ความไม่แน่นอน”

คำถามที่ต้องตอบก่อนจะตัดสินใจ:

✔️ สินค้าหรือตลาดไหนที่ยังมีความมั่นคงในหลายสถานการณ์ข้างต้น?
✔️ อะไรคือจุดเปลี่ยน (break point) ที่จะตัดสินใจเปลี่ยนแปลงด้ามกลยุทธ์ข้างต้น หรือ ลดขนาดธุรกิจ?
✔️ การตัดสินใจไม่ทำอะไรเลย จะมีความเสี่ยงกว่าการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงหรือไม่?

ในโลกที่การค้าระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลงเร็ว
สิ่งที่ธุรกิจควรทำไม่ใช่การ "รอให้ทุกอย่างแน่นอน"
แต่คือการเตรียมหลายทางเลือก และกำหนด "เงื่อนไขที่ชัดเจน" สำหรับการลงมือ เช่น:

  • ถ้า Tariff เกิน XX% จะย้ายโรงงานหรือไม่?

  • ถ้าตลาด A หดตัว จะชะลอการลงทุนหรือหาตลาดใหม่?

📌 สรุป

ในช่วงเวลาที่ “การเมืองกลายเป็นกลยุทธ์เศรษฐกิจ” ผู้บริหารต้องกลายเป็นนักวางแผนเชิงภูมิรัฐศาสตร์ด้วย

การเข้าใจภาพรวมและวางแผนล่วงหน้า จะช่วยให้คุณไม่เพียงแค่ “อยู่รอด” แต่ “ใช้โอกาสนี้โตได้จริง”

📖 อ่านบทความต้นทางจาก McKinsey (ภาษาอังกฤษ): 👉 Tariffs and global trade: The economic impact on business

ASAP Project เป็นที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ที่จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจด้วยเทคโนโลยี

Feeling overwhelmed?
Let us help you find the right tools.

Feeling overwhelmed?
Let us help you find the right tools.

Feeling overwhelmed?
Let us help you find the right tools.