สำรวจเทรนด์และสถิติสำคัญในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม
ร้านอาหารในปัจจุบันกำลังปรับตัวครั้งใหญ่ โดยเฉพาะในเรื่องของการนำเทคโนโลยีและออโตเมชั่นเข้ามาช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็ยังมีคำถามใหญ่ที่หลายคนต้องคิด เช่น ควรเริ่มต้นตรงไหน และจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ โดยเฉพาะร้านที่เน้นการบริการที่ใกล้ชิดกับลูกค้า มีความกังวลว่าการใช้เทคโนโลยีอาจทำให้สูญเสียความเป็นมนุษย์ที่ทำให้ร้านของตนเองแตกต่างออกไป ทำให้หลายคนยังลังเลที่จะเริ่มต้นการทรานส์ฟอร์ม (DX)
ในบทความนี้ เราจะมาแชร์ข้อมูลสถิติและเทรนด์จากผู้นำในอุตสาหกรรม F&B ทั่วโลก เพื่อช่วยให้เข้าใจว่าพวกเขาตัดสินใจเรื่องนี้อย่างไร และมองเห็นผลกระทบจาก DX อย่างไรบ้าง
TYPE
Thoughts
เทรนด์ด้านเทคโนโลยีที่สำคัญเกี่ยวกับร้านอาหาร
จากหลายๆ ที่มาของข้อมูล ASAP Project ได้รวบรวมเทรนด์ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหารสำหรับปี 2024-2025 ได้ดังนี้
การจองร้านอาหารและต่อคิวผ่านช่องทางออนไลน์: การวางระบบแพลตฟอร์มและแอพพลิเคชั่นสำหรับการจองร้านอาหาร การต่อคิว และการอัพเดทจำนวนโต๊ะว่างแบบเรียลไทม์ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า
การชำระเงินแบบไร้เงินสด: การใช้การชำระเงินด้วย QR Code และดิจิทัลวอเล็ต เพื่อลดระยะเวลาการจ่ายเงิน เพิ่มความรวดเร็ว เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าและลดการสัมผัสระหว่างบุคคล
ตู้ Kiosks สำหรับสั่งอาหารด้วยตนเอง และเครื่องมือในการสั่งอาหาร: การใช้ระบบ Kiosks สำหรับสั่งอาหารด้วยตนเอง ให้ลูกค้าสามารถเลือกเมนูต่างๆ ได้ตามใจ และลดการสั่งอาหารโดยผ่านพนักงาน
การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าด้วย AI: การใช้ระบบ AI ช่วยวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าเพื่อแนะนำเมนูหรืออาหารที่ตรงกับความต้องการ
การจัดการคลังสินค้าอัตโนมัติ: การใช้ระบบในการจัดการและติดตามคลังสินค้าแบบเรียลไทม์ที่ใช้ AI และ IoT เพื่อช่วยให้ร้านอาหารคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า ลดการสูญเสียอาหาร และเพิ่มประสิทธิภาพของเมนูต่างๆ
IoT อุปกรณ์อัจฉริยะ และหุ่นยนต์:
ใช้อุปกรณ์ที่รองรับ IoT เพื่อช่วยตรวจสอบอุปกรณ์ในครัว: ทำให้มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ต่างๆ มีประสิทธิภาพและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อรักษาคุณภาพของอาหาร
การทำงานด้วยหุ่นยนต์: ใช้หุ่นยนต์ในงานบริการต่างๆ เช่น เตรียมอาหาร แกะสลัก เสิร์ฟอาหาร เพื่อเพิ่มความเร็วในการบริการและเพื่อรักษาความสม่ำเสมอของคุณภาพอาหาร
สรุปเทรนด์ที่เห็นได้ชัด
จากเทรนด์ด้านเทคโนโลยีที่เราสรุปมาให้แล้วเบื้องต้น จะเห็นว่าเทรนด์ที่ได้รับการนำไปทรานส์ฟอร์มอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด ได้แก่
[1] การจัดการคลังสินค้า
จากสถิติที่เห็นได้ชัดว่าส่วนงานอย่างจัดซื้อและ Supply Chain เป็นส่วนที่ได้รับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในการทรานส์ฟอร์ม โดยพื้นฐานมาจากการมีระบบ POS และ ERP ที่ดี รองรับรูปแบบและประเภทของสินค้าและอาหารที่ขาย และมีการเชื่อมต่อที่ Seamless และ Real-time มากพอ
ต่อยอดจากพื้นฐานตรงนี้ คือการนำเอา AI เข้ามาช่วย "คาดการณ์" การสั่งซื้อ หรือแจ้งเตือนในกรณีที่มีความเสี่ยงด้านสต็อก
[2] การสั่งอาหารแบบ Self-Service และช่องทางรับออเดอร์
เห็นได้มากขึ้นเรื่อยๆ กับการติดตั้งตู้ Kiosk หน้าร้านหรือ Tablet บนโต๊ะ เพื่อให้ลูกค้าสั่งอาหารได้เอง และออเดอร์จะวิ่งเข้าครัวไปทันที ตลอดจนทำการจ่ายเงินก่อนกิน วัฒนธรรม Self-Service นี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศที่ค่าแรงสูง เช่น ในอเมริกา ยุโรป หรือญี่ปุ่น ที่เป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว
ช่องทางในการรับออเดอร์เอง ก็มีความหลากหลายมากขึ้น แต่มีความท้าทายในการรวมออเดอร์เข้ามาที่ศูนย์กลาง โดยเฉพาะหากมีช่องทางขายออนไลน์หลายช่องทาง ในไทยเอง ร้านที่ขายผ่านแพลตฟอร์มอย่าง Grab, Line Man, Food Panda ก็ต้องคิดกลยุทธ์ในการรวบรวมออเดอร์มาไว้ที่เดียว และหาทางเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า
[3] การจองร้านอาหาร
อีกเทรนด์ที่เห็นว่ามีผลต่อยอดขาย คือการจอง หากจองง่าย คอนเฟิร์มเร็ว ก็จะทำให้คาดการณ์ Demand ได้ชัด และเพิ่มยอดขายได้ในที่สุด ความท้าทายของร้านอาหาร คือการทำให้ลูกค้าเข้าถึงแพลตฟอร์มการจองที่ง่าย สะดวก และเชื่อมต่อกับระบบ POS เป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้ทราบได้ทันทีเมื่อเปิดบิลว่าเป็นคิวไหนที่จองมา และช่วยให้มีการจัดโต๊ะล่วงหน้าได้สะดวกสำหรับกรณีที่เป็นร้าน Dine-In เป็นต้น
ASAP Project เป็นที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ที่จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจด้วยเทคโนโลยี
#FoodandBeverage #IndustryTrend