ทำธุรกิจให้ได้มากกว่ากำไร ด้วยแนวคิดแบบ ESG

ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป เพราะใครปรับตัวไม่ทัน อาจไม่มีใครร่วมลงทุนด้วย! 🌎

ถ้าเรานึกถึงธุรกิจที่ช่วยสังคมหรือสิ่งแวดล้อม เราอาจจะเห็นภาพโครงการรีไซเคิลขยะพลาสติก หรือมูลนิธิต่าง ๆ ที่ผูกมัดกับองค์กร ที่ล้วนดูเป็นโครงการที่หน่วยงานต่าง ๆ "จำเป็นต้องทำ" ด้วยบทบาทในสังคม

แต่ในยุคปัจจุบัน แนวคิดทำธุรกิจที่มี "จริยธรรม" เริ่มได้รับการผลักดันมากขึ้น โดยเฉพาะในแถบ EU ที่มีคำเตือนให้องค์กรเริ่มหันมาใส่ใจจรรยาบรรณของธุรกิจที่กำลังร่วมค้าขายอยู่ด้วย นอกเหนือจากธุรกิจของตนเอง

ไม่ว่าจะเป็นด้านโรงงานผลิต ที่ต้องจ้างพนักงานอย่างถูกต้องและเคารพสิทธิมนุษยชน หรือการร่วมเทรดกับภาคีเครือข่ายที่ต้องเป็นธุรกิจที่ใสสะอาดด้วยกัน ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจทุกขนาดจะต้องคำนึงถึง ยิ่งถ้ากำลังมองหาการเติบโตไปสู่ตลาดโลก

ดังนั้น ธุรกิจที่มี "ความดีงาม" จะเป็นธุรกิจที่ "นักลงทุน" มองหามากที่สุด! เพราะการร่วมธุรกิจกับองค์กรที่ดีด้วยกัน จะช่วยให้ทุกอย่างราบรื่น และไม่ต้องเสี่ยงต่อการโดนค่าปรับ หรือโดนจำกัดสิทธิ์ในการทำธุรกิจ ซึ่งนอกจากผลกำไรที่จะงอกเงยขึ้นมาแล้ว ยังได้ความยั่งยืน ที่จะทำให้สุขภาพของธุรกิจดีไปอีกหลายปี

TYPE

Thoughts

เริ่มต้นเข้าใจ E S และ G

การเริ่มปรับองค์กรของเราให้มีจริยธรรมมากขึ้น มีหลายแบบมาก จนอาจทำให้สับสนว่าควรต้องเริ่มที่ตรงไหน 
วันนี้ ASAP Project เลยขอแนะนำตัวอักษรภาษาอังกฤษสามตัว ที่จะช่วยให้การเริ่มต้นเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น คือ E S และ G ครับ

🌱 E - "Environment"

ธุรกิจที่ทำดีเพื่อสิ่งแวดล้อมไม่ได้มีต้นทุนที่สูงเสมอไป เพราะเราไม่จำเป็นต้องเริ่มหันมาซื้อภาชนะ หลอดรักษ์โลก หรือกล่องพัสดุแบบ Eco-friendly มาใช้ในบริษัททันที

เราอาจเริ่มจากการปรับขั้นตอนทำงาน เช่นการเดินเอกสาร ให้เอกสารส่วนใหญ่ในองค์กรใช้งานเป็นไฟล์ PDF แทนการพิมพ์ออกมา เว้นไว้แต่เอกสารที่จำเป็นต้องเป็น Hard Copy เท่านี้ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี ที่เราสามารถต่อยอดไปเรื่อย ๆ ก่อนที่จะลงทุนด้านอื่น ๆ เช่นลดการผลิตคาร์บอนขององค์กร (Decreasing Carbon Footprint)

👨‍👩‍👦 S - Social

ด้านสังคมนั้น สามารถเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการหันมาดูแลคนของเราก่อน เพราะพนักงานขององค์กรจะได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มากที่สุด

โดยการลงทุนอาจเริ่มที่ฝ่ายบุคคล (HR) ให้มีแผนกสุขภาพจิต หรือการใส่ใจสุขภาพจิตของพนักงานมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองและเศรษฐกิจที่ทำให้คนขยับตัวยากกว่าแต่ก่อน

นอกจากนี้องค์กรยังสามารถประกาศมาตรการจ้างพนักงานที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งคนประเภท LGBTQ+ คนต่างชาติ หรือผู้พิการ เพื่อเป็นการทำดีต่อสังคม และเพื่อให้มีความยุติธรรมในทีมมากขึ้น

⚖️ G - Governance

ด้านธรรมาภิบาล สามารถเริ่มด้วยการเข้าร่วมโครงการต้านคอร์รัปชันต่าง ๆ เช่นการรายงานผลรายได้หรือกำไรให้ชัดเจน เพื่อให้บุคคลภายในและภายนอกเชื่อมั่นในตัวองค์กรมากขึ้น

หรือการเชิญชวนผู้ถือหุ้นทุกระดับมาร่วมตัดสินใจด้านทิศทางสำคัญขององค์กร ก็นับเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยให้แต่ละหน่วยงานมีความโปร่งใสมากขึ้นเช่นกันครับ

ทั้งนี้ องค์กรที่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ และสร้างนวัตกรรมหรือโครงการใหม่ ๆ ที่ดีงามอย่างต่อเนื่อง จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ ทั้งด้านการได้รับรางวัลองค์กร การยอมรับจากสังคม และที่สำคัญที่สุด คือค่าดัชนี หรือ Ranking ต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่นค่าดัชนี ESG ในตลาดหุ้นไทย ที่มีการจัดลำดับทุกปี

🤔 แล้วเราจะเอาตัวเลขจากไหนมาวัดผลค่า ESG ได้ ❓

ปัญหาต่อมาขององค์กรที่ต้องการให้ค่า ESG ของตัวเองดีขึ้น ก็คือการวัดผลออกมาเป็นตัวเลขชัดเจน เพราะการจัดลำดับของหน่วยงานทั้งในไทยและต่างประเทศ จะใช้ตัวชี้วัดที่วัดผลได้จริงเป็นหลัก

ตัวเลขต่าง ๆ อาจมาในรูปแบบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ค่าปล่อยก๊าซเรือนกระจก จนไปถึงความพึงพอใจของพนักงานในองค์กร และจำนวนรายงานที่แสดงถึงความโปร่งใสของธุรกิจ ซึ่งเรื่องพนักงานและความโปร่งใส องค์กรสามารถผลิตรายงานขึ้นได้เอง และทำ Audit ได้

ส่วนด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่ช่วยให้องค์กรวัดผลการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ โดยตัวอย่างที่ใช้กับหลายองค์กรมาแล้ว เช่น

👉 ERP อย่าง SAP ที่มีผลิตภัณฑ์เพื่อทำบัญชีคาร์บอนอย่าง "SAP Sustainability Footprint Management” ที่จะสามารถนำ Data ขององค์กรมาวัดค่าความยั่งยืนต่าง ๆ อย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นด้าน Supply Chain ด้านจัดซื้อจัดจ้าง หรือด้านการเงิน เพื่อรวบรวมข้อมูลมาทำรายงาน และสรุปว่าจุดไหนของธุรกิจที่กำลังใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม หรือสิ้นเปลืองที่สุด

SAP ช่วยสโคปตัวชี้วัดด้านความยั่งยืนได้ตามเกณฑ์ของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน  และยังสามารถนำเข้าข้อมูลของซัพพลายเออร์เรามาคำนวณร่วมกัน เพื่อให้เราทราบว่าธุรกิจที่เราร่วมงานด้วยกำลังปฎิบัติหน้าที่อย่างยั่งยืนหรือไม่ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้จะช่วยให้เรามีข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่จับต้องได้มากกว่าการคำนวณด้วยตัวเอง

👉 นอกจาก SAP แล้ว ERP ค่ายใหญ่ระดับโลกก็มีโมดูลเพื่อทำบัญชีคาร์บอนเช่นกัน เช่น Sage มี “Sage Earth” หรือ Infor ก็มี “Infor Nexus” เป็นต้น

👉 ของไทยเองก็มีแพลตฟอร์มที่ช่วยติดตามและคำนวณการปล่อยคาร์บอนเช่นกัน ตัวอย่างเช่น “GAIA ZERO” แพลตฟอร์มจัดทำบัญชีคาร์บอนจาก PPT Digital เพื่อช่วยให้ช่วยให้องค์กรก้าวเข้าสู่ NET Zero ได้อย่างแท้จริง

👉 นอกจากนี้ สำหรับธุรกิจที่ยังไม่มีข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมมากขนาดนั้น ยังสามารถใช้ Generative AI หรือปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถคาดการณ์ความสิ้นเปลืองของแต่ละหน่วยงาน เพื่อประมาณการทรัพยากรที่ต้องใช้ต่อเดือนหรือต่อปี

ตัวอย่างเช่นเส้นทางการขนส่งสินค้า หรือการใช้พลังงานที่แต่ละสำนักงาน ซึ่งตัว Generative AI ในปัจจุบันสามารถช่วยเจ้าของธุรกิจคิดค้นวิธีประหยัดพลังงาน หรือไอเดียต่าง ๆ ให้ธุรกิจปฎิบัติตามหลักการ ESG ได้ดีขึ้นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นแผนการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือการเข้าสู่ Net Zero เป็นต้น

🤔 แล้วเราจะเอาตัวเลขจากไหนมาวัดผลค่า ESG ได้ ❓

ปัญหาต่อมาขององค์กรที่ต้องการให้ค่า ESG ของตัวเองดีขึ้น ก็คือการวัดผลออกมาเป็นตัวเลขชัดเจน เพราะการจัดลำดับของหน่วยงานทั้งในไทยและต่างประเทศ จะใช้ตัวชี้วัดที่วัดผลได้จริงเป็นหลัก

ตัวเลขต่าง ๆ อาจมาในรูปแบบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ค่าปล่อยก๊าซเรือนกระจก จนไปถึงความพึงพอใจของพนักงานในองค์กร และจำนวนรายงานที่แสดงถึงความโปร่งใสของธุรกิจ ซึ่งเรื่องพนักงานและความโปร่งใส องค์กรสามารถผลิตรายงานขึ้นได้เอง และทำ Audit ได้

ส่วนด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่ช่วยให้องค์กรวัดผลการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ โดยตัวอย่างที่ใช้กับหลายองค์กรมาแล้ว เช่น

👉 ERP อย่าง SAP ที่มีผลิตภัณฑ์เพื่อทำบัญชีคาร์บอนอย่าง "SAP Sustainability Footprint Management” ที่จะสามารถนำ Data ขององค์กรมาวัดค่าความยั่งยืนต่าง ๆ อย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นด้าน Supply Chain ด้านจัดซื้อจัดจ้าง หรือด้านการเงิน เพื่อรวบรวมข้อมูลมาทำรายงาน และสรุปว่าจุดไหนของธุรกิจที่กำลังใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม หรือสิ้นเปลืองที่สุด

SAP ช่วยสโคปตัวชี้วัดด้านความยั่งยืนได้ตามเกณฑ์ของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน  และยังสามารถนำเข้าข้อมูลของซัพพลายเออร์เรามาคำนวณร่วมกัน เพื่อให้เราทราบว่าธุรกิจที่เราร่วมงานด้วยกำลังปฎิบัติหน้าที่อย่างยั่งยืนหรือไม่ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้จะช่วยให้เรามีข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่จับต้องได้มากกว่าการคำนวณด้วยตัวเอง

👉 นอกจาก SAP แล้ว ERP ค่ายใหญ่ระดับโลกก็มีโมดูลเพื่อทำบัญชีคาร์บอนเช่นกัน เช่น Sage มี “Sage Earth” หรือ Infor ก็มี “Infor Nexus” เป็นต้น

👉 ของไทยเองก็มีแพลตฟอร์มที่ช่วยติดตามและคำนวณการปล่อยคาร์บอนเช่นกัน ตัวอย่างเช่น “GAIA ZERO” แพลตฟอร์มจัดทำบัญชีคาร์บอนจาก PPT Digital เพื่อช่วยให้ช่วยให้องค์กรก้าวเข้าสู่ NET Zero ได้อย่างแท้จริง

👉 นอกจากนี้ สำหรับธุรกิจที่ยังไม่มีข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมมากขนาดนั้น ยังสามารถใช้ Generative AI หรือปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถคาดการณ์ความสิ้นเปลืองของแต่ละหน่วยงาน เพื่อประมาณการทรัพยากรที่ต้องใช้ต่อเดือนหรือต่อปี

ตัวอย่างเช่นเส้นทางการขนส่งสินค้า หรือการใช้พลังงานที่แต่ละสำนักงาน ซึ่งตัว Generative AI ในปัจจุบันสามารถช่วยเจ้าของธุรกิจคิดค้นวิธีประหยัดพลังงาน หรือไอเดียต่าง ๆ ให้ธุรกิจปฎิบัติตามหลักการ ESG ได้ดีขึ้นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นแผนการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือการเข้าสู่ Net Zero เป็นต้น

ในโลกที่ความยั่งยืนเริ่มเป็นปัจจัยหลักสำหรับนักลงทุนมากขึ้น องค์กรจากทุกอุตสาหกรรมไม่ควรพลาดโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้ดีต่อทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เพราะนอกจากจะเป็นผลดีต่อธุรกิจในระยะยาวแล้ว การคำนึงถึงหลักการ ESG ยังคงช่วยให้นักลงทุนเลือกร่วมทุนกับเราได้ง่ายขึ้นอีกด้วย


ที่มาอื่นๆ
EURONEWS
Amnesty.org

ASAP Project เป็นที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ที่จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจด้วยเทคโนโลยี

Feeling overwhelmed?
Let us help you find the right tools.

Feeling overwhelmed?
Let us help you find the right tools.

Feeling overwhelmed?
Let us help you find the right tools.